ภาวะผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
ภาวะผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่ 21 ต้องพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา และสามารถปรับตัว จัดการกับเหตุการณ์วิกฤติต่างๆ ไม่ให้ขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป เพราะเมื่อวันเวลาผ่านไป สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แนวคิดและเทคนิคการบริหารที่เคยใช้ได้ดีมาก่อนอาจถูกทดแทนด้วย แนวคิดและเทคนิคการบริหารที่พัฒนาขึ้นมาใหม่และทันสมัยกว่า โดยเฉพาะในสังคมโลกปัจจุบัน ที่เป็นโลก ยุคข้อมูลข่าวสารมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการบริหารจัดการอย่างแพร่หลาย สิ่งสำคัญยิ่ง คือ บุคลากร องค์กรทั้งผู้บริหารและพนักงาน ต้องรู้ทันกระแสโลกาภิวัตน์อย่างเกาะติดสถานการณ์ มีความมุ่งหมาย มุ่งมั่นที่ชัดเจน มั่นคง ไม่คลอนแคลน มีความไม่ประมาท มีการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ที่กลมกลืนกับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร ใช้ภาวะผู้นำ และทีมแกนนำจัดการความรู้ มีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคน มีการพัฒนาทักษะพื้นฐานของพนักงาน มีการพัฒนาทักษะในการใช้ “ตัวช่วย” ต่อการจัดการความรู้ เป็นองค์กรที่ “ไร้กำแพงมีบรรยากาศอิสรภาพ และบรรยากาศเชิงบวก มีการจัดการคนเก่ง จัดการขุมทรัพย์ทางปัญญา มีและใช้ระบบบันทึก “ขุมความรู้” มีและใช้ระบบเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ
ทั้งนี้ต้องมีนโยบายในการขับเคลื่อน คือ นโยบายให้ผู้นำเป็นผู้ที่กำหนดทิศทางองค์กรนโยบายการมีส่วนร่วม นโยบายการสื่อสาร นโยบายการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจ นโยบายการประเมินและการติดตามผล นโยบายการฝึกอบรม นโยบายการกำหนดมาตรฐานบริการ
Article Details
References
เกษมสันต์ วีระกุล และคณะ. (2540). พจนานุกรมศัพท์เศรษศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
โกศล ดีศิลธรรม. (2546). เทคนิคการจัดการอุตสาหกรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิตติพงศ์ วิเวตนนท์ และกำพล กิจชระภูมิ. (2537). Process management . กรุงเทพมหานคร: บริษัท อินโนกราฟฟิกส์ จำกัด.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2545). การจัดการคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
สมยศ นาวีการ. (2535). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรุงชินพัฒนา.
สายหยุด ใจสำราญ. (2547). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
เสนาะ ติเยาว์. (2542). หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อำนาจ ธีระวนิช. (2544). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์.