แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก จึงได้จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ดำเนินการกู้ยืมเพื่อการศึกษาและมีนักศึกษาบางกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาแล้ว ไม่ดำเนินการชำระหนี้ กยศ. จึงทำให้เกิดปัญหาการค้างช้ำระหนี้เป็นจำนวนมาก สำหรับการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มุ่งศึกษาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน วิสัยทัศน์ และเหตุผลของการไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ตามแนวนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ดังนี้ 1) ยกเลิกระบบผู้ค้ำประกัน 2) ให้สถานศึกษาแต่ละที่ช่วยดูแลการกู้ยืมเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาของนักศึกษา และควรจัดให้มีการปฐมนิเทศให้กับผู้กู้ยืมรายใหม่ 3) สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ชั้นดี เช่น ผู้กู้ยืมคนใด เรียนจบเร็ว หนี้ที่กู้ยืมไป หากชำระเร็วและตรงเวลาอาจลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งที่ต้องชำระ 4) ควรจัดระบบการใช้หนี้หรือการคืนเงินกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้เหมือนกับระบบการใช้หนี้หรือการคืนเงินกู้ยืม 5) ควรบังคับใช้มาตรการในการลงโทษผู้ที่ไม่ชำระหนี้ กยศ. อย่างจริงจัง 6) ควรมีการติดตามทวงหนี้กับผู้กู้อย่างจริงจัง 7) ลดหนี้ให้กับการทำงานที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เช่น ผู้กู้ยืมคนใดเข้าทำงานบางประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หรืออาสาลงไปทำงานยังพื้นที่ที่กันดานหรือเสี่ยงอันตราย รัฐควรมีมาตรการสนับสนุนลูกหนี้กลุ่มนี้ เช่น การหักลดหย่อนหนี้จากการกู้ยืมเพื่อการศึกษาบางส่วนให้ทำงานแทนเงิน
Article Details
References
กนก วงษ์ตระหง่าน. (2563). จิตวิญญาณของกองทุน กยศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม
แหล่งที่มา: https://www.naewna.com/politic/467810
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). (ม.ป.ป.). ความเป็นมาวิสัยทัศน์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29
ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.studentloan.or.th/th/aboutus
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.). (ม.ป.ป). คำแถลงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. ออนไลน์. สืบค้น
เมื่อ 29 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.studentloan.or.th/th/aboutus
ลภัสชฎา สาสุนันท์และ ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2563). เหตุผลของการไม่ชำระหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(กยศ.) ของจำเลยในเขตอำนาจศาลแขวงขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern
Learning Development. 5 (6), 75-87
วัชราภรณ์ จันทนุกูลและสัญญา เคณาภูมิ. (2561). กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา: สาเหตุของปัญหาการค้าง
ชำระหนี้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9 (2),
-130.
สำนักงบประมาณรัฐสภา. (2558). วิเคราะห์การบริหารงบประมาณกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ;
การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลาทางการศึกษา ; ปัญหาและอุปสรรคการบริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา; กยศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร.
เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล. (2563). กยศ. – ข้อเสนอเพื่ออนาคต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2563.
แหล่งที่มา https://www.the101.world/student-loan-fund/