การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

ณัฐวุฒิ หว่านผล
ศิริพงษ์ เศาภายน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2.) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยจำแนกตามคุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำนวน 168 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ การทดสอบค่าที (t- test) และการทดสอบ F-test แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Post hoc Comparison)
          ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก มีผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน พบว่า ครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน โดยภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฐิติกานต์ นวพงศ์รัตน์. (2557). สภาพการบริหารงานด้านกิจการนักเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 จังหวัดกระบี่. งานนิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพสุคลธ์ หงส์ชู และกัญญ์รัชการย์ นิลวรรณ. (2560). การพัฒนางานกิจการนักเรียนสู่ศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนขยายโอกาสเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, 1 (8), 933-943.

พวงรัตน์ ชำนาญเลิศกิจ. (2558). ศึกษาการส่งเสริมนักเรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนประถมศึกษา

สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เรืองยศ ครองตรี. (2551). การดําเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราช

วิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วราภรณ์ บุญดอก. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุนทรี เตชะตน. (2554). การบริหารงานปกครองโรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัด

เชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน สังกัด สพป.เพชรบุรี เขต 2.

ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://data.bopp-obec.info/ emis/school. php?Area_CODE=7602

อดิศักดิ์ กล่ำเชียงคำ. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานกิจการนักเรียนโรงเรียนสนธิ

ราษฎร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research Method in Education. (7th ed.).

New York: Morrison.