การบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

สุธีระ เดชคำภู

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2   2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตรัชโยธิน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ใน  การปฏิบัติงานของครู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ครู ในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 234 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) (วรรณี แกมเกตุ, 2555 : 295) และได้ใช้การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 จากการเปิดตารางของ Cohen (Cohen, Manion and Morrison, 2011 : 147) การรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .966 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t  (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตรัชโยธิน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  2. การเปรียบเทียบการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขต  รัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ตามความคิดเห็นของครู โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของครู พบว่า 2.1) ครูในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ที่มีระดับการศึกษาต่างกันระดับ 0.05 มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างในระดับ 0.05 2.2) ครูในสหวิทยาเขตรัชโยธินสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันระดับ 0.05 มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างในระดับ 0.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ การกิ่งไพร. (2558). การบริหารความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2 และ เขต3. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ขวัญแก้ว จันทรรัตน์. (2560). การบริหารความเสี่ยงทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 3. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ขวัญญานันท์ แก้วนุชธนาวัชร. (2559). การบริหารจัดการความเสี่ยงในการทำงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จรรยาภรณ์ พรหมคุณ (2561). การปรับตัวของภาครัฐไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563, แหล่งที่มา http://webcache.googleusercontent.com/ search? q=cache:zso TEnPTDWEJ:water.dwr.go.th/wrro5/index.php/th/2018-08-15-02-09-32%3Fdownload% 3D36:2019-03-12-08-30-29+&cd=8&hl=th&ct=clnk&gl=th

ธัญญารัตน์ สายใหม่. (2560). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาจังหวัดปทุมธานี. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพมหานคร: สุวีรียาสาส์น.

ปิยะรัตน์ เสนีย์ชัย. (2554). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2561). มาตรา 79 หมวด 4 การรายงาน และการตรวจสอบ. พระราชบัญญัติ วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563, แหล่งที่มาhttps://www.audit.go.th/th/พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน- พ.ศ.2561.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (2559). คำสั่งที่ 508/2559 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสหวิทยาเขตรัชโยธิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563, แหล่งที่มา

http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:BP23Dc5Y7bsJ:203.159.164.66/~eme66/includes/standard61/filestd61/pl109_1:3:1-2018-10-16_115143-1.doc+&cd =7&hl=th&ct=clnk&gl=th

สุธาสีนี สิงห์ประโคน. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7 th Ed.). New York : Routledge.