ความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่ม สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6

Main Article Content

เนื้อทิพย์ จันทร์ปุย
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะของ   ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองปราการ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6   โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 จากการเปิดตารางของ Cohen ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 151 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่
          ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่ม สหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6 โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการบริการที่ดี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.05  โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีมีระดับความคิดเห็นมากกว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี  และครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตเมืองปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6  ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูน. (2560). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณ์

ราชวิทยาลัย ภาคใต้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.hu.ac.th /conference/proceedings/data5).pdf.

ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยี

สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถาน ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม ศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครินทร์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2552). การสรรหาคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. (พิมพ์ครั้งที่ 3).

กรุงเทพมหานคร: วีพริ้น.

ดารารัตน์ จันทร์กาย. (2559). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุตรดิตถ์ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558 - 2567). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เบญจพร วาทีกานท์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ปาริฉัตร ช่อชิต. (2559). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 8. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

วิมลรัตน์ ศรีสำอางและรชฏ สุวรรณกูฏ. (2559). สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา : https://so03.tci-thaijo.org/ index.php/ npuj/article/view /43899/36311.pdf.

พิทูล ไชยศิริ. (2559). สมรรถนะหลักทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนบรบือวิทยาคาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://journalgrad. ssru.ac.th/index.php/8thconference/issue/view/68.

สุทธิเทพ ช่อปทุมศิริกุล. (2559). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภาในโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 3. วิทยา นิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุทฤศยา สุขสำราญ. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารในการพัฒนาโรงเรียนขยายโอกาส เครือข่ายการจัดการ ศึกษาที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง สู่ศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต.บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อาราฟัด หัดหนิ. (2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสงขลาเขต 3. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณบัตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อุษา ดาพัวพันธุ์. (2559). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 โรงเรียนทีปังกรวิทยา พัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลง กรณสยามมกุฎราชกุมาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData /viewIndex/1069.ru

เอกชัย มดแสง. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

อ่างทอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563. แหล่งที่มา : http://ojs.mbu.ac.th/index.php/ edj/article/view/325/392.pdf.

Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison,Keith.(2011).Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison.