การปฏิบัติราชการหลักธรรมาภิบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหลักธรรมาภิบาลด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยช่วยสร้างสรรค์ และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร สร้างศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กร อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นองค์กรที่โปร่งใส ได้รับความไว้วางใจ ตามหลักธรรมาภิบาลซึ่งประกอบไปด้วย 6 หลักการ คือ
1) หลักนิติธรรม (The rule of law) การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2) หลักคุณธรรม (Morality การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ
3) หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักความโปร่งใส ตรงข้ามกับการทุจริต คอร์รัปชั่น ยึดหลักความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ
4) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6) หลักความคุ้มค่า (Cost-effectiveness or economy) การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน
Article Details
References
บวรศักดิ์อุวรรณโณ. ธรรมาภิบาลในองค์กรอิสระ.(2545). เอกสารประกอบการบรรยาย 8 มิถุนายน 2545. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พศ. 2545. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www. thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975 212&Ntype =19. [2 ส.ค.2555].
พัทยา สายหู.(2516). โลกสมมุติ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศึกษิตสยาม.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://rirs3.royin.go.th/word-19-a0.asp. [2 ก.ย.2555].
วรัชยา ศิริวัฒน์.“กระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิรูประบบราชการไทย,” การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ.2549. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : www.polpacon7.ru.ac.th/download/article/บทความ%2040.doc. [30 กรกฎาคม 2555].
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ระบบการบริหาราชการที่ดี หรือหลักธรรมาภิ บาล, [ออนไลน์], แหล่งที่มา :http://school.obec.go.th/chorpaka/tamapibal.htm. [2 ส.ค. 2555].
สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ. (2522). ค่านิยมและระบบค่านิยมไทย: เครื่องมือในการ สำรวจ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อดุลย์ วิเชียรเจริญ.“ค่านิยมของสังคมไทย”.วารสารสังคมศาสตร์.ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (2519) : 188-216.
Boonmi, Thirayuth,(2002). Good Governance: A Strategy to Restore Thailand. In Duncan McCargo. (ed.) Reforming Thai Politics.
Harper, Douglas. Online Etymology Dictionary. [Online]. Resource : http://www. etymonline.com/index.php?term=culture. [August 2, 2012].
Kluckhohn, C.(1958). The American style. New York: Elting E. Morison.
Michael, B. and Babak,(1992). J.A. The Post-Bureaucratic Paradigm in Historical Perspective. California: University of California Press.
Rokeach, M. Belief,(1968). attitudes and values: A theory of organization and change. New York: Jossey-Bass.
Smelser, N. J. (1968). Collective behavior. New York: Free Press.
UNESCO. 2002. Universal Declaration on Cultural Diversity. [Online] Resource :http://www.unesco.org/education/imld_2002/unversal_d ecl a.shtml. [August 2, 2012].