แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมต่อการแก้ไขปัญหาสังคม

Main Article Content

นภัสสร รักษากิจโกศล

บทคัดย่อ

               บทความนี้ต้องการนำเสนอ แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมด้วยวัตถุประสงค์    ให้สังคมและชุมชน อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขเพราะปัญหาอาชญากรรมลดน้อยลงด้วย         แนวทางการป้องกันอาชญากรรมโดยยึดหลักคุณธรรม โดยการใช้หลักคำสอน ทางพุทธศาสนา เป็นมาตรการในการป้องกันอาชญากรรม ดังนี้


              1) แนวทางส่งเสริมค่านิยมทางสังคมคุณธรรม ตามหลักเบญจศีล-เบญจธรรม เป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นหลักยึดมั่นในการทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งเบญจศีลหลักธรรมที่ควรงดเว้นไม่พึงกระทำเมื่อเปรียบเทียบความผิดทางอาญา และมีลักษณะเป็นข้อห้ามทางสังคม ได้แก่การไม่เบียดเบียนชีวิตผู้อื่น การไม่เบียดเบียนทรัพย์สินผู้อื่น การไม่ประพฤติผิดประเวณี การไม่เบียดเบียนผู้อื่นทางวาจา และ สำรวมในการเสพของมึนเมา


              2) แนวทางการลดช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยใช้เบญจธรรม หรือคุณธรรม จะต้องมีกฎเกณฑ์ กฎหมาย กติกาทางสังคมที่มีลักษณะการกระจายโอกาสหรือจัดการให้เกิดความยุติธรรม ทางสังคมและเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติย่อมมีความสำคัญในเรื่อง การทำมาหาเลี้ยงชีพ สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม ระบบสาธารณสุขยารักษาโรค การแสวงหาผลประโยชน์ทรัพยากรต่างๆหน้าที่การงาน การยกยอสรรเสริญชมเชยผู้ปฏิบัติดีและถูกต้อง สถานที่สร้างความบันเทิงใจกับประชาชน สังคมต้องมีแนวทางดูแลผู้ที่สูญเสีย ผู้ด้อยโอกาส ย่อมเป็นอีกแนวทางหนึ่งทำให้อาชญากรรมลดลงได้ นอกจากนี้ยังมีการการควบคุมอาชญากรรม ซึ่งมีการกระทำที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะคือ


             ลักษณะที่ 1  การป้องกัน ( Prevention)  คือ การป้องกันระมัดระวังมิให้สุจริตชนละเมิดกฎหมายอาญา หรือดูแลมิให้คนชั่วมีโอกาสกระทำผิดเพิ่มขึ้น


             ลักษณะที่ 2  การปราบปราม (Suppression)  คือ การจัดการกับผู้กระทำผิดซึ่งเป็นภัยและทำลายความสงบสุขของสังคม โดยอาจจะจับกุม ผู้กระทำผิดมาลงโทษจำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน หรือทำลายล้างให้หมดไปด้วยการประหารชีวิตก็ได้ ตามแต่อัตราโทษที่เหมาะสมกับลักษณะความผิด อันมีลักษณะเป็นการกระทำผิดเพื่อแก้แค้นทดแทน (Retribution)  ยับยั้ง (Deterrence) และเหนี่ยวรั้งบุคคล (Restraint) มิให้กระทำผิดได้อีกทางหนึ่ง


             ลักษณะที่ 3  การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด (Rehabilitation) คือ อบรมจิตใจผู้กระทำความผิดมิให้หวนไปกระทำผิดซ้ำอีก ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงความประพฤติของผู้กระทำผิดให้กับตนเป็นพลเมืองที่มีประโยชน์ต่อสังคมต่อไป      

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ประเสริฐ เมฆมณี.(2523). หลักทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, (2524). ร.ต.อ. สมรรถภาพของตำรวจในการควบคุมอาชญากรรม.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์.(2530). การบริหารงานตำรวจ : Police administration. กรุงเทพมหานคร : เดียนสโตร์.
วุฒิ วิทิตานน์. การบริหารงานตำรวจสมัยใหม่. ม.ป.ท. : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, ม.ป.ป.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.(2550). แผนปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ประจำปี 2550. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมตำรวจ.