การสังเคราะห์รูปแบบการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการจัดการตนเอง ตามศาสตร์พระราชา กรณีศึกษาชุมชนบางเลน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ทรงยศ สาโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการณ์ศูนย์เรียนรู้ชุมชน 2) วิธีปฏิบัติการที่เป็นเลิศ  3) ปัจจัยที่ทำให้ศูนย์เรียนรู้ประสบความสำเร็จ และ 4) สังเคราะห์รูปแบบการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน เป็นการวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ประชาชน จำนวน 100 คน แบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการ และสมาชิก จำนวน 20 คน
          ผลการวิจัยพบว่า  
            1. สภาพการณ์ศูนย์เรียนรู้ชุมชน พบว่า ศูนย์มีการดำเนินงานตามศาสตร์พระราชา ได้รับรองให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบของจังหวัดนนทบุรี มีแนวทางการพัฒนาที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของทุนในชุมชนและขยายผลการพัฒนาความรู้ของประชาชน มีกิจกรรมสร้างความยั่งยืนและมีการจัดการเรียนรู้ในการจัดการตนเอง มีการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ 2. วิธีปฏิบัติการที่เป็นเลิศ พบว่า มี 3 วิธี คือ 1) การเสริมศักยภาพทักษะ/การสร้างความรู้/การเรียนรู้ด้วยตนเองและการจัดการตนเอง 2) การพัฒนาองค์ความรู้/เนื้อหาความรู้ศาสตร์พระราชาที่สอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิต และ 3) เงื่อนไขการจัดการศูนย์ที่ส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้บนฐานศาสตร์พระราชา 3. ปัจจัยที่ทำให้ศูนย์การเรียนรู้ประสบความสำเร็จ พบว่า มี 4 ปัจจัย คือ 1) นโยบายและการบริหารจัดการ 2) การมีส่วนร่วมของศูนย์เรียนรู้ชุมชน 3) การพัฒนาความร่วมมือกับภายนอก 4) การพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง และ4. สังเคราะห์รูปแบบการจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน พบว่า มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ขีดความสามารถ 2) การบริหารจัดการ และ3) แนวทางการพัฒนาตามศาสตร์พระราชา ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการประเมินทุกด้านมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 4.00 ถือว่ารูปแบบใช้ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน. กรุงเทพมหานคร: กองพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2542). ทรัพยากรมนุษย์กับการพัฒนา. เลย: สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค สถาบันราชภัฎเลย.

เรณุมาศ กุละศิริมา และคณะ. (2555). รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการจากมุมมองนักบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ จี พี ไซเบอร์พรินท์.

สุวุฒิ วรวิทย์พินิต และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการ Veridian E –Journal,Silpakorn University, 10 (2), 1657-1674.

สำนักงานเทศบาลตำบลบางเลน. (2563). ข้อมูลเทศบาล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา http://www.banglane.go.th/.

Keeves,J.P. (1998). Education research and methodology and measurement. An nternational handbook. Oxford: Pergamon Press.