การให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

อมรรัตน์ สายใจ

บทคัดย่อ

              บทความนี้ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่การให้บริการขององค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายและความพึงพอใจในการเข้าไปใช้บริการต่างๆ ตามขอบเขตของหน่วยงานที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งความสามารถในการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้รับบริการโดยการพิจารณาจากองค์ประกอบ 5 ด้านดังนี้คือ


  1. การชำระภาษีท้องถิ่นอย่างเสมอภาค (Equitable Services) หมายถึง ความยุติธรรมในการบริหารงานของรัฐที่มีฐานคติที่ว่าคนทุกคนเท่าเทียมกันดังนั้นประชาชนทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในแง่มุมของกฎหมายไม่มีการแบ่งแยกกีดกันในการชำระภาษีท้องถิ่นประชาชนจะได้รับการปฏิบัติในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคลที่ใช้มาตรฐานการชำระภาษีท้องถิ่นเดียวกัน

  2. การชำระภาษีท้องถิ่นอย่างทันเวลา (Timely Services) หมายถึงในการบริการจะต้องมองว่าการให้บริการสาธารณะจะต้องตรงเวลาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐจะถือว่าไม่มีประสิทธิผลเลยถ้าไม่มีการตรงต่อเวลาซึ่งจะสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชน

  3. การชำระภาษีท้องถิ่นอย่างเพียงพอ (Ample Services) การชำระภาษีท้องถิ่นสาธารณะต้องมีลักษณะมีจำนวนการชำระภาษีท้องถิ่นและสถานที่ชำระภาษีท้องถิ่นอย่างเหมาะสม Millet เห็นว่าความเสมอภาคหรือการตรงต่อเวลาจะไม่มีความหมายเลยถ้ามีจำนวนการชำระภาษีท้องถิ่นที่ไม่เพียงพอและสถานที่ตั้งที่ชำระภาษีท้องถิ่นสร้างความไม่ยุติธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการ

  4. การชำระภาษีท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง (Continuous Service) หมายถึง การชำระภาษีท้องถิ่นสาธารณะที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอโดยยึดประโยชน์ของสาธารณะเป็นหลักไม่ใช่ยึดความพอใจของหน่วยงานที่บริการว่าจะให้หรือหยุดบริการเมื่อใดก็ได้

  5. การชำระภาษีท้องถิ่นอย่างก้าวหน้า (Progressive Services) หมายถึงการชำระภาษีท้องถิ่นสาธารณะที่มีการปรับปรุงคุณภาพและผลการปฏิบัติงานกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการเพิ่มประสิทธิภาพหรือความสามารถที่จะทำหน้าที่ได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรเท่าเดิม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชูวงศ์ ฉายะบุตร.(2549). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : กรมการปกครอง.
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง.(2543). ระบบการเมืองการปกครองฝรั่งเศส. นนทบุรี : สถาบัน พระปกเกล้าโกสินทร์วงศ์.
ทัศนียา ชื่นนิรันดร์.(2544). พฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ไทย วัฒนาพาณิชย์.
ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร.(2545). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : ธนศร เจริญเมือง.
วิทยา นภาศิริกุลกิจ.(2534). การเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ลักษณ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมเกียรติ สุวรรณธานี.(2552) “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภา ท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย” จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยอีสาน.
อุทัย หิรัญโต.(2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
John D Millet.(1954). Management in public service : The quest for effective performance. New York .
Robson William A,(1953). Local Government in Encyclopedia of Social Science, Vol. X. New York : The Macmillan Company.