ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับทักษะการบริหารฯผู้บริหารสถานศึกษา โดยได้เล็งเห็นความสำคัญว่าทักษะการบริหารฯผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จและความก้าวหน้าของสถานศึกษานั้นๆ ดังนี้
ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 1. ทักษะด้านมนุษย์(Human Skills)การปรับตนเองให้เข้ากับบุคคลอื่น การให้ ผู้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน การยกย่องให้ความสำคัญแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าเทียมกัน การให้ความเป็นกันเอง การให้เวลาผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจปัญหาร่วมกัน การเข้าใจปัญหาผู้ใต้บังคับบัญชา การเอาใจใส่ ดูแลทุกข์สุขผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง 2. ทักษะด้านเทคนิควิธี (Technical Skills) การทำแผนงานหรือโครงการ การจัดทำสถิติและแผนภูมิทางการศึกษา การทำหน้าที่ประธานที่ประชุมครู การสาธิตการสอน การพูดหรือเขียนคำสั่ง การมีความรู้ระบบการเงิน การบัญชี การมีความรู้การพัสดุการจัดซื้อจัดจ้าง การมีความรู้งานสารบรรณ การมีความรู้อ่านแบบแปลนก่อสร้างอาคารได้ การมีความรู้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือสั่งการ งานบริหารบุคคล การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน 3.ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills) การกำหนด นโยบายจุดประสงค์และขอบข่ายงาน การวิเคราะห์งานของตนและผู้อื่น การมีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานของตนทั้งหมดว่าสัมพันธ์กันอย่างไร การวินิจฉัยผลกระทบต่อหน่วยงานย่อยอื่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบย่อยหนึ่ง การรู้ถึงความต้องการทางการศึกษาของชุมชน การใช้คำถามอย่างมีเหตุผล การเข้าใจนโยบายการจัดการศึกษาของชาตุทุกระดับ การรู้จักการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตัวอย่างและวิธีการบริหารที่ได้พบเห็นและศึกษามาแล้วนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม การเข้าใจถึงความต้องการงบประมาณ
Article Details
References
จันทรานี สงวนนาม.(2549). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท บุ๊ค พอยท์ จำกัด.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์.(2550). ทุนมนุษย์ : การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อพัฒนา. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น). พิมพลักษณ์.
ธีระ รุณเจริญ. (2553). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธนา เพลส.
นพพงษ์ บุญจิตรอดุลย์.(2550). หลักการบริหารการศึกษา กรุงเทพมหานคร : ศูนย์การพิมพ์
กรุงเทพมหานคร.
นิสดารก์เวชยานนท์. (2530).ไพฑูรย์ เจริญพันธุวงศ์. หลักการ และแนวคิดที่เกี่ยวกับทักษะการบริหาร.
บันลือ พฤกษะวัน.(2537). การนิเทศภายในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: การพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2545). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : สหมิตรออฟเซท.
ปัญญา แก้วกียูรและสุภัทร พันธ์พัฒนกุล.(2545). การบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบการใช้ โรงเรียนหรือพื้นที่การศึกษาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
วิชัย ตันศิริ. (2549).การบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พี.เพรส จำกัด.
อำภา บุญช่วย. (2543). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน .พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริน ติ้งเฮาส์.
Campbell, R.F., et al., (1972). Introduction to Educational Administration. New York : Allyn and Bacon.
Fisk, R.S. (1963). The Task of Educational Administration. New York : Harper and Row.
Katz, R.L. (1955). Skill of Effective Administrator. Harrard Business Review, 12 (1) :33-42 ; January-February.
Miller, V. (1965). The Public Administration of School. NY : Macmilllan.