การจัดการความขัดแย้งของตำรวจ

Main Article Content

ศิริจันทร์ จุลนิล

บทคัดย่อ

               บทความนี้ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งของตำรวจ ด้วยวัตถุประสงค์ทำให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เกิดความร่วมมือในการทำงาน เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เกิดการประนีประนอม ลดปัญหาทางด้านอารมณ์ความสับสน ความกดดัน ความก้าวร้าว การถูกบังคับจิตใจ ลดการเกิดความเครียดสุขภาพจิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานลดการเกิดความเสียหายแก่องค์การ ตาม  วิธีการในการจัดการความขัดแย้งที่สำคัญ 5 วิธี ดังนี้


               1)  การหลีกเลี่ยง เป็นวิธีการที่บุคลากรในองค์การนำมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยบุคลากรไม่สู้ปัญหาและไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา ไม่สนใจความต้องการของตนเอง และความต้องการของผู้อื่น หลีกเลี่ยงปัญหา เฉื่อยชาและไม่สนใจความขัดแย้งที่เกิดขึ้นพยายามทำตัวอยู่เหนือปัญหาและความขัดแย้งต่างๆโดยเชื่อว่าความขัดแย้งจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป


               2)  การปรองดอง วิธีการนี้บุคลากรในองค์การจะนำมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยบุคลากรมีจุดยืนระหว่างกลางของมิติการเอาใจตนเอง และมิติการเอาใจผู้อื่น เป็นแบบของการเจรจาต่อรอง ที่มุ่งให้ทั้งสองฝ่ายมีความพอใจบ้าง เป็นลักษณะที่หากได้บ้างก็ยอมเสียบ้างหรือในลักษณะที่มาพบกันครึ่งทาง รับฟังความคิดเห็นจากบุคคลอื่นทั่วๆไป และระหว่างเพื่อนร่วมงาน                  


               3)  การต่อสู้ บุคลากรจะใช้วิธีการนี้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยบุคลากรเน้นการเอาใจตนเองเป็นสำคัญ มุ่งชัยชนะของตนเองเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์หรือความสูญเสียของผู้อื่น ให้ได้ชัยชนะในที่สุด โดยไม่สนใจว่าจะได้มาด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม


               4)  การร่วมมือร่วมใจ เป็นวิธีการที่บุคลากรนำมาใช้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์การ โดยบุคลากรมุ่งที่เอาชนะและขณะเดียวกันก็ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นพฤติกรรมของคนที่มุ่งจะให้เกิดความพอใจทั้งแก่ตนเองและบุคคลอื่นประสานผลประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เพื่อให้องค์การอยู่รอดและเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป


               5)  การประนีประนอม หรือการเจรจาต่อรองบุคลากรจะใช้วิธีการนี้ในการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยบุคลากรต้องการใช้ความสามารถเกลี้ยกล่อมบุคคลที่เรามุ่งจะได้บางสิ่งบางอย่างจากเขาให้หรือยอมให้บางสิ่งบางอย่างนั้นแก่เรามากที่สุด โดยความสมัครใจ เน้นการเจรจาต่อรองเพื่อให้ตนเองมีส่วนได้รับประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

สมภพ วรรณแมน.(2551). การจัดการความขัดแย้งภายในองค์การ กรณีศึกษา เทศบาล ตำบลบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิริพงศ์ ชัยเอกมงคลเลิศ.(2551). “การจัดการความขัดแย้งของบุคลากรในสำนักงานเขต พื้นที่ มหาสารคาม เขต 2”. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต.บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
อริศราวรรณ สมีดี. (2551). “บทบาทของคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนในการไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทโดยสันติวิธี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : ราชภัฎสกลนคร.
อรุณ รักธรรม. (2526). ความขัดแย้งในระบบราชการ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2531). การบริหาร: ทักษะและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองสาสน์การ พิมพ์.
Filley, Alan C.(1975). Interpersonal Conflict Resolution. Glenview. Illinois : Scott, Foresman.