ความผูกพันในองค์การ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกัความผูกพันในองค์การ ด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้องค์กรได้มาซึ่งพนักงานที่ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ ตั้งใจและเต็มใจที่จะปฏิบัติงานให้กับองค์กร ทำให้องค์กรได้รับประโยชน์มากมาย ทั้งด้านอัตราการขาดงาน อัตราการลาออกหรือเปลี่ยนงานและการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ตามขอบข่ายเนื้อหา ดังนี้
ความผูกพันต่อองค์การคือความรู้สึกที่ดีต่อองค์การมีความรักความภาคภูมิใจความเอาใจใส่ต่อองค์การรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งมีความเชื่อมั่นยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การเต็มใจและเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อเป้าหมายและต้องการที่จะดำรงไว้ซึ่งการเป็นสมาชิกขององค์การนั้นตลอดไป ตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งมีทฤษฎี Side-Bet ของ Becker ที่กล่าวว่า บุคคลใดก็ตามที่มีความผูกพันต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็เนื่องจากเขาได้ลงทุนในสิ่งนั้นๆ ไว้เช่นการที่คนเราเข้าไปทำงานอยู่ในองค์การในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะก่อให้เกิดการลงทุนซึ่ง Becker เรียกการลงทุนนั้นว่า “Side bet” อาจเป็นการลงทุนในรูปของเวลา แรงกายแรงใจ กำลังสติปัญญาตลอดจนการยอมเสียโอกาสบางอย่าง
ปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่สัมพันธ์กับความชอบหรือไม่ชอบในงานของแต่ละบุคคลกล่าวคือ 1. ปัจจัยจูงใจ (Motivation Factor) ปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง เพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงานปฏิบัติเป็นการกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจให้แก่บุคคลในองค์กรให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ (1) ความสำเร็จในการทำงานของบุคคล (2) การได้รับการยอมรับนับถือ (3) ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (4) ความรับผิดชอบ (4) ความก้าวหน้า 2. ปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor) ปัจจัยค้ำจุนได้แก่ (1) เงินเดือน (2) โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (3) ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงาน (4) สถานะของอาชีพ (4) นโยบายและการบริหารงาน (6 สภาพการทำงาน (7) ความเป็นอยู่ส่วนตัว (8) ความมั่นคงในการทำงาน (9) วิธีการปกครองของผู้บังคับบัญชา นอกจากนี้ Steer ก็ยังได้กล่าวถึง ความผูกพันต่อเป็นไปใน 3 ลักษณะดังต่อไปนี้ 1) มีความเชื่อมันอย่างแรงกล้าและยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ 2) มีความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ขององค์การ 3) มีความมุ่งมาดปรารถนาที่จะดำรงตนให้เป็นสมาชิกขององค์การ
Article Details
References
ปาริชาติ พงษ์ชัยศรี,(2542). “ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกรมสรรพากร ภาค 4”, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสรต์.
ภรณี (กีร์ติบุตร) มหานนท์.(2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ, กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน.(2443). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. อ้างใน ชาญวุฒิ บุญชม, ความผูกพันต่อองค์การ ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรโรงเรียนอิสรามสันติชน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมยศ นาวีการ. (2440).การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ.
อุทัย เลาหวิเชียร และ วรเดช จันทรศร. (2431).การบริหารมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักบรรณาสารการพัฒนา สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Allen, Natalie J. And Meyer, John P. 1996. Affective, Continuance, and Normative Commitement to the Organization : an Exanmination of Construct Validity. Journal of Vocational Behavior. 49 issue 3 December 1996.
Becker, H. S. Notes on the Commitment. American Journal of Sociology. 66, 1960.
Fazzi, Robert A.(1944). Managemwnt Plus : Maximizing Productivity through Motivations, Performance, and Commitment. Newyork : Irwin Profesional.
Meyer, John P. and Allen, Natalie J.(1984). Testing the “Side-Bet Theory” of Organizational Commitmen : Some Methodological Considerations. Journal of Applid Psychology. 69 issue 3 (August).
Porter, Lyman W. and Steer, Richard M. (1977). Organizational Work. Personal Factor in Employee and Absenteeism. “Psychological Bulletin 80 No.2 ”.
Porter, L.W. (1974). Organizational Commitment, Job Satisfaction and Turnover AmongPsychiaticTechnicians. Journal of Applied Psychology.
Salancik, Gerald R. (1983). Commitment and the Control of Organizational Behavior and Belife. In Psychological Foundations of Organizational Behavior. 2nded. Edited by Barry M.Staw.n.p.: Scott, Foresman and Company.
Steers Richard M. (1977). Antecedents and Outcome of Organizational Commitment.Administrative Science quarterly. 22 January.