การบริหารระบบสารสนเทศ

Main Article Content

คมสันต์ ประจำจิตร

บทคัดย่อ

               บทความนี้ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการบริหารระบบสารสนเทศด้วยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการสารสนเทศให้มีความก้าวหน้าสำหรับใช้สนับสนุนการบริหารสถานศึกษาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยในการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการโดยมีเนื้อหาดังนี้


               (1) นำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนและบริหารสถานศึกษา เพราะรายละเอียดของข้อมูลและสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารในงานภารกิจของสถานศึกษา สารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ใช้และแนะทิศทางที่ผู้บริหารจะเลือกดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษาที่วางไว้


               (2) ข้อมูลและสารสนเทศเป็นพื้นฐานหรือปัจจัยหลักในการตัดสินใจด้วยหลักเหตุผลเพราะการสร้างสารสนเทศต้องมีระบบ มีวิธีการวิเคราะห์ระบบ เพื่อพิจารณาติดสินใจให้รอบคอบและยังมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยตัดการทำสารสนเทศให้มีความถูกต้อง ตรงต่อความต้องการและทันต่อเหตุการณ์


               3) ข้อมูลสารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผู้บริหารนำไปใช้ในการวินิจฉัยสั่งการแก่บุคลากรภายในสถานศึกษาโดยการมอบหมายงานให้เหมาะกับคนได้อย่างเหมาะสม


              (4) ข้อมูลสารสนเทศทำให้พัฒนาภาระงานการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้สอนโดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนปรับภาษาเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนสามารถสร้างความรู้หรือเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น


              (5) ข้อมูลสารสนเทศบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับสิ่งอื่นเพราะการศึกษามีความสัมพันธ์กับด้านเศรษฐกิจและสังคม ช่วยทำให้ประเมินสถานการณ์การพัฒนาการศึกษาได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมล สุดประเสริฐ.(2545). รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ที่ วัฒนาพานิช.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2547). เอกสารสาระการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา หลักเทคนิคการบริหาร และการวางแผน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
จิติมา เทียมบุญประเสริฐ. (2546). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ห้าง หุ้นส่วนจำกัด วี.เจ. พริ้นติ้ง.
ณัฏฐพันฑ์ เขจรนันทน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล.(2546). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ชีเอ็ดยูเครชั่น.
ดาราวรรณ ญาณะนันท์. (2548). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง.
บุญชม ศรีสะอาด.(2553). เทคนิคการบริหารโรงเรียนบนฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร:
เป็นพับลิชชิง จำกัด.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2552). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรง พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภ ภูจอมจิตร. (2540). “การจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาเกี่ยวกับงานวิชาการใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชัย ตันศิริ. (2547). โฉมหน้าการศึกษาไทยในอนาคตฯ, (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________.(2547). ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา. พิมพลักษณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ.(2548). ผู้บริหารโรงเรียนฯ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
_________.(2545). ปัจจัยทางการบริหารกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วน จำกัด ทิพย์วิสุทธิ์.
_________.(2546). โรงเรียนองค์การแห่งการเรียนรู้แนวคิดทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพวิสุทธิ์.
วีระ สุภากิจ.(2539). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ:จากทฤษฎีสู่การปฏิรูปในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.(2543). การพัฒนาระบบสารสนเทศเชิง คุณภาพในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2547). กระทรวงศึกษาธิการ.
สมจิตร อาจอินทร์และงามนิจ อาจอินทร์.(2540). ระบบฐานข้อมูล. ขอนแก่น: ขอนแก่นการ พิมพ์.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และคนอื่น ๆ.(2546). ประมวลสารชุดวิชาการจัดการสถานศึกษา หน่วยที่ 8-11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สุวัฒน์ เงินฉ่ำ. สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. เขตพื้นที่การศึกษา.
John Sheldrake.(1997). Management Theory from Taylorism to Japanization. London ; Boston : International Thomson Business Press.