ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในองค์กร

Main Article Content

สมจิตร เจริญกร

บทคัดย่อ

              บทความนี้ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาให้มีคุณสมบัติของภาวะผู้นำทางวิชาการ  มีความรอบรู้  มีวิสัยทัศน์  มีคุณธรรมจริยธรรม   มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศทางด้านการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเนื้อหาและรายละเอียดดังนี้ 


           คุณสมบัติภาวะผู้นำทางวิชาการคือ


  1. การเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Vision) คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถมองเห็นภาพอนาคตของสถานศึกษา ที่เป็นภาพที่มีความเฉพาะเจาะจง และสามารถบรรลุถึงจุดได้ ความสามารถหยั่งรู้ถึงก้าวต่อๆ ไปขององค์การนั้นถือเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้นำ เมื่อสามารถสร้างภาพอนาคตได้ชัดเจนแล้ว ต้องนำเผยแพร่ แก่คณะครูและผู้ร่วมงานอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและเกิดการยอมรับ หากจะต้องมีการปรับเปลี่ยนก็เป็นความเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นภาพอนาคตที่เป็นที่พึงประสงค์ของทุกคนในสถานศึกษานั้น 2. การวิเคราะห์และตรวจสอบคุณสมบัติอื่นซึ่งเป็นองค์ประกอบของคุณลักษณะที่ดีของผู้นำทางวิชาการ ได้แก่ การเป็นผู้มีแนวคิดกว้างไกลในเรื่องของการศึกษา การเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการศึกษา การเป็นผู้มีความตั้งใจแน่วแน่ การเป็นผู้มีพลังพร้อมที่จะทำงาน การเป็นผู้มีความกล้าเสี่ยงและความเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์  ผู้บริหารสถานศึกษาควรวิเคราะห์ตนเองในเรื่องต่าง ๆ ข้างต้นอย่างมีใจเป็นกลางและประเมินระดับที่ตนมีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงต่อไป

  2. การตรวจสอบการบริหารงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรตรวจสอบการบริหารงานด้วยการประเมินงาน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานในทางที่เป็นจริงโดยการตรวจสอบหรือประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น แผนงาน วิธีดำเนินงาน การควบคุม การใช้ทรัพยากร เป็นต้นการตรวจสอบด้วยการประเมินมีหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ เช่น (1) การประเมินผู้บริหาร เป็นการประเมินรายบุคคล (2) การประเมินงาน เป็นการประเมินเนื้องาน กิจกรรม การทดลอง เทคนิคใหม่ (3) การประเมินระบบ เป็นการใช้วิธีการประเมินอย่างมีระบบ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมคนในองค์การอันเป็นผลสะท้อนจากพฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แกไข เพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. สำนักการบริหาร กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุ สภา ลาดพราว.
เทพประสิทธิ์ ช่วยสุข. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับคุณภาพโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,สถาบันราชภัฎ อุบลราชธานี.
ปรีชา ทัศน์ละไม.(2549). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน และ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1-3. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา). เลย; บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช ภัฎเลย.
พันธุ์เทพ ใจคำ. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฎเลย. ถ่ายเอกสาร.
วาสนา สุขประเสริฐ. (2547). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสตรีโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สํานักงานการประถมศึกษาจังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
เศรษฐิยา เปรื่องพิชญาธร.(2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สัตยการพิมพ์
สรินทร์รัตน์ มุสิการยกูล. (2548).ภาวการณ์เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาศึกษาสาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา,
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544).รายงานผลการประเมินพฤติกรรมด้านการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา
แห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ . (2548). ภาวะความเป็นผ้นำ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส (1989).
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์และคณะ, (2538).วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษา. เอกสารชุดวิชา ประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตบริหารการศึกษา เล่มที่ 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.