การใช้หลักพุทธธรรมในการทำงานจิตอาสา

Main Article Content

สัมพันธ์ คงพูนทรัพย์

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสังเคราะห์แนวคิดการการใช้หลักพุทธธรรมในการทำงานจิตอาสา โดยเล็งเห็นความสำคัญของจิตอาสาที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยเริ่มจากระดับที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดคือ จิตอาสาระดับครอบครัว ชุมชน สังคม ซึ่งอาจมองกว้างถึงระดับประเทศและระดับนานาชาติได้ เพราะคนเราไม่สามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ทั้งหมด ต้องอาศัยคนอื่นด้วยประโยชน์ที่คนในสังคมได้อาศัยร่วมกันดังนี้


              หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับจิตอาสาในพระพุทธศาสนา มีหลักพรหมวิหาร 4 คือ 1. เมตตา คือ ความรัก ความมีใจปรารถนาดีอยากให้เขามีสุข 2. กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ 3. มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข 4. อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง มีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง และหลักสังคหวัตถุ 4 คือ 1. ทาน คือ การให้ การแบ่งปันในรูปสิ่งของหรือความรู้ 2. ปิยวาจา คือ การใช้คำพูดสุภาพ อ่อนหวาน ก่อให้เกิดไมตรี 3.อัตถจริยา คือ การขวนขวายประพฤติตน บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์เพื่อผู้อื่น 4. สมานัตตตา คือ การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และ สภาพแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรรณิกา มาโน.(2553) “ความหมายของชีวิตกับจิตอาสา”. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จํานงค  ทองประเสริฐ. “พุทธจักรโลกร่มเย็นดับเข็ญได้ด้วยศาสนา”. วารสารพุทธจักร. ปที่ 64 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2553.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์.(1991). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร : วี พรินท์.
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์.(2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ดร.ชลลดา ทองทวี. บทความเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา. เครือข่ายจิตตปญญาศึกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: [email protected]. คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู (โพสตทูเดย ฉบับวันที่ 30 กรกฎาคม 2549).
ดวงเดือน พันธุมนาวิน.(2546). จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ปิยะนาถ สรวิสูตร.(2552). แรงจูงใจของผู้นำเยาวชนที่มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อ สังคม : กรณีศึกษาสภาเยาวชนกรุงเทพมหานคร, “วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต”, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2543). ความสุขของครอบครัวคือสันติสุขของสังคม. พิมพ์ครั้ง ที่ 4 กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).(2553). พจนานุกรมพุทธศาสน ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้ง ที่ 14. ธรธัชการพิมพ์.
พระธรรมปฎก .(ป.อ.ปยุตฺโต) งานเพื่อความสุขและแก่นสารของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์สวย, มปป.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ที่: บริษัท เอส อาร์.พริ้นตริ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต).(2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
พระไพศาล วิสาโล.(2551). เรื่องเล่าจิตอาสา อ้างใน จิตรวลัย ศรีแสงฉาย. จิตอาสาพัฒนา ชนบทกรณีศึกษา: กลุ่มอาสาพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระไพศาล วิสาโล.(2549). เครือข่ายจิตอาสา. คูมือจิตอาสาโครงการอาสาเพื่อในหลวง พิมพ์ลักษณ์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ประสานงานเครือข่ายจิตอาสา.
พุทธทาสภิกขุ.(2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วราพร วันไชยธนวงศ์ ประกายแก้ว ธนสุวรรณ และวรรณา พิพัฒน์ธนวงศ์.(2551). การ พัฒนากระบวนการสร้างจิตอาสาของนักศึกษาพยาบาล. วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี เชียงใหม่.
วลัยรัตน์ ยิ่งดำนุ่น.(2554). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการจิตอาสา : กรณีศึกษา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนบางมดวิทยา “สีสุกหวาดจวน อุปถัมภ์”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์คุณธรรม.(2548). ร่วมแรงแข็งขัน ร่วมกันทำดี สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติและตลาดนัด คุณธรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัทแปลน โททิฟ,.