บทบาทพระสังฆาธิการในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

พีระพงษ์ มีพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

               บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักๆ เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของบทบาทพระสังฆาธิการที่จะทำให้พระศาสนาเจริญก้าวหน้าดำรงอยู่คู่เมืองไทยไปตลอดกาลนานในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ดังนี้


               หลักการบริหารวัด คือ การอำนวยการซึ่งต้องมีการตัดสินใจให้ถูกต้องและเหมาะสมการบริหารงานสมัยปัจจุบัน ผู้บริหารวัดต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล (Vision) ต้องทำงานเป็นทีมTeam Work) วางโครงสร้างพื้นฐานได้ดี (Infrastructure) รับฟังเสียงมหาชน (Public hearing) และพร้อมที่จะรื้อปรับระบบ (Reengineering)  โดยจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งมีหลักนิติธรรม มหาเถรสมาคม สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 15 ตรี ในการตรากฎมหาเถรสมาคม ในการแบ่งอำนาจในการบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ให้คณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคได้จัดการกันเองโดยให้พระภิกษุผู้ปกครองตามมาตรา 22 มีอำนาจถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันและ หลักคุณธรรมส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักคุณธรรมตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฎมหาเถรสมาคม. ฉบับที่ 5. พ.ศ.2506. บทนำ.c
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.(2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการ ศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
กรมการศาสนา และสำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ.(2537). หลักการบริหารและการจัดการ วัดในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิซิเมนต์ไทย.
กรมการศาสนา.(2538). คู่มือการถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ ประจำปีงบประมาณ 2538. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง.(2551). พระสงฆ์กับภาวะผู้นำ. ในรวบรวมบทความ สารนิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิตประจำปี พ.ศ. 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.