การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจต้านภัยดิจิทัลให้แก่ประชาชน

ผู้แต่ง

  • ปวีร์รวี อินนุพัฒน์ สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การสื่อสาร เทคโนโลยีดิจิทัล และภัยดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาด้านการสื่อสารที่สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยดิจิทัลแก่ประชาชน โดยศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อและปัจจัยทางด้านการสื่อสารที่สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้สื่อและศึกษาความรู้และทัศนคติต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยดิจิทัล ทำให้ทราบถึงศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่สร้างความรู้ ความเข้าใจต้านภัยดิจิทัล ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยดิจิทัลแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนไทยมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยที่มาจากเทคโนโลยีดิจิทัลและโซเชียลมีเดีย ใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามออนไลน์ (Online Survey) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ รับราชการ/พนักงานราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจพนักงานบริษัท คุณครู/อาจารย์ ลูกจ้าง นักเรียน/นักศึกษา ประชาชนทั่วไป และอื่น ๆ จำนวน 42 คน

ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการใช้สื่อและปัจจัยทางด้านการสื่อสารที่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้สื่อ ส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน และมีระยะเวลาในการเข้าใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อวัน มากกว่า 3 ชั่วโมง  สถานที่ที่ใช้งานเครือข่ายออนไลน์มากที่สุด คือ ที่บ้าน ช่วง 20.01 – 00.00 น. โดยใช้โทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน  ความรู้และทัศนคติต่อการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยดิจิทัล ส่วนใหญ่ต้องการเป็นที่รู้จัก มีตัวตน ในสังคม ต้องการให้ผู้อื่นชื่นชมในผลงาน ภาพถ่าย วิดีโอ หรือประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้อัพโหลดลงเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือความต้องการเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการกระจายข้อมูล และต้องการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แสดงความคิดเห็น ความรู้สึกต่างๆ  ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการผลิตสื่อที่สร้างความรู้ความเข้าใจต้านภัยดิจิทัล ส่วนใหญ่มีความสุขในการแบ่งปันเรื่องราว รูปภาพ วิดีโอ ต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ให้เพื่อนๆ มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น รวมทั้งเชื่อว่าสังคมออนไลน์เป็นสังคมที่เสรีเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น และทราบว่าสังคมออนไลน์มีทั้งด้านดีและด้านลบ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยดิจิทัลแก่ประชาชน ส่วนใหญ่เข้าใช้บริการสังคมออนไลน์ ด้วย line, Facebook, YouTube, Instagram, Twitter, Tiktok, WeChat, WhatsApp ,VIPA และรู้จักสังคมออนไลน์ โดยการสมัครเล่นด้วยตนเอง มีการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ มากกว่า 4 ปีขึ้นไป

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25