การสื่อสาร การสื่อสารกับสื่อมวลชนต่างประเทศ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศในภาวะวิกฤต โควิด-19

ผู้แต่ง

  • อรภา ทับทอง กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

คำสำคัญ:

การสื่อสารในภาวะวิกฤตโควิด-19 สื่อมวลชนต่างประเทศ โซเชียลมีเดีย Platform ยุคดิจิตัล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการสื่อสารกับสื่อมวลชนต่างประเทศ   2) รูปแบบการสื่อสารเพื่อลดข้อจำกัดการสื่อสารในภาวะวิกฤตโควิด 19 เก็บข้อมูลเบื้องต้นด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกสื่อมวลชนต่างประเทศจำนวน 20 คน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในการพิจารณาการตรวจลงตราประเภทสื่อมวลชน (Media Visa) จำนวน 4 คน วิเคราะห์ร่วมกับประสบการณ์ของผู้เขียนในการกำกับดูแลการพิจารณาตรวจลงตรา

ผลการศึกษามีดังนี้  1) สภาพปัญหา พบว่า การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน มีหลายช่องทางและไม่มีช่องทางให้ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน  2) รูปแบบการสื่อสารเพื่อลดข้อจำกัด คือใช้โซเชียลมีเดีย ที่ใช้ Platform ต่าง ๆ ให้มากที่สุด สร้างความถี่ในการประชาสัมพันธ์และกระจายข้อมูลข่าวสารของแต่ละประเด็น โดยผู้มีความน่าเชื่อถือของหน่วยงาน ประเภทสื่อใหม่ที่ลดข้อจำกัด ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อีเมล โทรศัพท์มือถือ ข่าวสารนิเทศ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ what’s app เว็บไซด์ แมสเซนเจอร์และแอพมือถือ ตามลำดับ โดยต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสมในการสื่อสาร ควรมีรายงานในเชิงบวกควบคู่กันไปด้วย รายงานบนครรลองต่อวิชาชีพจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน และควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการสื่อสารด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25