การวิเคราะห์ศิลปะการเล่าเรื่องของภาพยนตร์สยองขวัญในจักรวาลเดอะคอนเจอริ่ง

ผู้แต่ง

  • สุวัจนี พุฒิโชติ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์สยองขวัญ, โครงสร้างการเล่าเรื่อง, ความกลัว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาโครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์สยองขวัญตัวอย่างที่ได้รับความนิยมในจักรวาลเดอะคอนเจอริ่ง และ 2. ศึกษาเทคนิคการเล่าเรื่องในการสร้างความน่ากลัวให้กับภาพยนตร์ในจักรวาลเดอะคอนเจอริ่ง โดยวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนตร์ จำนวน 7 เรื่อง ได้แก่ 1. The Conjuring (2013) 2. Annabelle (2014) 3. The Conjuring 2 (2016) 4. Annabelle Creation (2017) 5. The Nun (2018) 6. Annabelle Comes Home (2019) 7. The curse of La Llorona (2019) ผลการวิจัยพบว่า 1. โครงสร้างการเล่าเรื่องประกอบด้วย โครงเรื่อง, แก่นเรื่อง, ความขัดแย้ง, ตัวละคร, ฉาก, บทสนทนา, มุมมองในการเล่าเรื่อง และการใช้สัญลักษณ์พิเศษ องค์กระกอบที่โดดเด่นที่สุด ได้แก่ (1) โครงเรื่องที่นำมาจากเค้าโครงเหตุการณ์จริง (2) การยึดโยงความเชื่อทางศาสนา (3) การเล่าผ่านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว (4) ตัวละครมีความขัดแย้งทั้งกับตัวเอง บุคคลอื่น และธรรมชาติ และ (5) การคลี่คลายของเรื่องโดยใช้พลังของความเชื่อมั่นในครอบครัวและความศรัทธาในศาสนา 2. เทคนิคการเล่าเรื่องเน้นการดึงอารมณ์คนดูให้รู้สึกถึงความกลัวผ่านความเงียบ กดดันให้เกิดการคาดเดา จนกระทั่งถึงจุดผ่อนคลาย นอกจากนี้ ภาพยนตร์ทุกเรื่องมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ทำให้ผู้ชมตั้งใจติดตามรอชมในเรื่องต่อ ๆ ไป ส่งผลให้ภาพยนตร์ในจักรวาลเดอะคอนเจอริ่งประสบความสำเร็จ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-24