การบริหารรายได้ของสื่อทีวีดิจิทัลท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ
คำสำคัญ:
การบริหาร, รายได้, โฆษณา, โทรทัศน์ดิจิทัลบทคัดย่อ
การแข่งขันของสื่อทีวีดิจิทัลในปัจจุบันค่อนข้างสูง และงบประมาณทางด้านสื่อโฆษณาของทีวีดิจิทัล
กับการเติบโตที่ไม่มากพอกับสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่เกิดขึ้น ทาให้แต่ละสถานีต้องเร่งปรับกลยุทธ์ เพื่อสร้าง
รายได้และดึงเม็ดเงินโฆษณาจากทุกส่วนงานของทางสถานีให้มีรายได้กลับเข้ามาบริหารงานในสถานีโทรทัศน์
ดิจิทัล บทความนี้มุ่งศึกษารูปแบบของการหารายได้ของสื่อทีวีดิจิทัล เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารรายได้
และแนวทางการหารายได้ของสื่อทีวีดิจิทัล
รูปแบบการหารายได้ หรือกลยุทธ์ของการหารายได้ ของทีวีดิจิทัลไม่มีสูตรสาเร็จ และไม่ได้ง่ายเสมอ
ไป ทั้งนี้พบว่ารูปแบบการหารายได้ของสถานีโทรทัศน์ประกอบด้วย (1) รายได้จากการขายสปอตโฆษณาหรือ
ที่เรียกกันว่า TVC (Television Commercial) (2) รายได้จากการขายโฆษณาผลิตภัณฑ์แฝง (Tie-in
Product) (3) รายได้จากการขายรายการสัมภาษณ์ (4) รายได้จากการขายเช่าเวลาของทางสถานีโทรทัศน์
ดิจิทัล และรายได้จากช่องทางอื่นๆ ได้แก่ การรับจ้างผลิตรายการ ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง การผลิตสื่อและบริหารสื่อ
ให้กับหน่วยงานราชการ การทาแพลตฟอร์มออนไลน์ และการขายลิขสิทธิ์รายการโทรทัศน์
หากเปรียบเทียบรูปแบบของการหารายได้จะพบว่าในอดีตการขายสปอตโฆษณาจะทาได้ง่ายกว่า
เพราะสถานีโทรทัศน์ที่มีน้อยช่อง แต่ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่มีเกิดเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่า และการ
แย่งชิงเม็ดเงินโฆษณาจากหลายช่องทาง ทาให้รายได้จาก การขายสปอตโฆษณานั้นไม่เพียงพอ ทาง
สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลจึงจาเป็นต้องหารูปแบบการหารายได้ที่แตกต่างกันออกไป โดยสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลแต่
ละแห่งต่างพยายามเชื่อมแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งทีวี ออนไลน์ ออฟไลน์ เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการสร้างโมเดลการ
หารายได้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น รวมถึงการใช้ช่องทางการสื่อสารต่างๆ เพื่อทาการตลาดเนื้อหาให้มากขึ้นทาให้สถานี
และรายการของสถานีเป็นที่รู้จักและมีคนติดตามรายการเพื่อดึงเม็ดเงินโฆษณาให้กลับเข้ามาสู่สถานีโทรทัศน์
ดิจิทัลให้ได้มากที่สุด