ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ESG100

ผู้แต่ง

  • นิตยา โยธาจันทร์ 0854494039
  • ศศิวิมล มีอำพล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ไพบูลย์ ผจงวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

รายงานความยั่งยืน, GRI, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนกับผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่ม ESG100 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 บริษัท วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานและเว็บไซต์ที่เปิดเผยต่อสาธารณะชน ช่วงปี พ.ศ. 2558 – 2562 โดยดัชนีการเปิดเผยข้อมูลใช้กระดาษทำการแบบประเมินผลแบบตัวเลือกตามกรอบรายงาน Global Reporting Initiative Version 4.0 (GRI G4) และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Correlation Analysis) และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า  บริษัทในกลุ่ม ESG100 มีระดับการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนอยู่ในระดับต่ำแต่มีแนวโน้มเปิดเผยเพิ่มมากขึ้น  และเมื่อศึกษาความสัมพันธ์โดยควบคุมขนาด อายุ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น และประเภทอุตสาหกรรม พบว่าการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และมูลค่ากิจการ (Tobin’s Q) แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราก าไรสุทธิ(Net Profit Margin) และอัตราเงินปันผลตอบแทน(Dividend Yield) เมื่อวิเคราะห์ตามมิติความยั่งยืน 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พบว่าการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมต่ำที่สุดแสดงให้เห็นว่าบริษัทยังคงให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางสังคมน้อย  ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้บริษัทหันมาสนใจทำกรรมเพื่อสังคมให้มากขึ้น  ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแล้วยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนใช้ประกอบพิจารณาการลงทุน  และเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลรายงานความยั่งยืนมากขึ้นส่งผลให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นตามไปด้วย 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

15-01-2021