The Confirmatory Factor Analysis of Employee’s Career Adaptability by the Competing Model Analysis
คำสำคัญ:
การปรับตัวในการทำงาน, โมเดลแข่งขันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการปรับตัวในการทำงานของพนักงาน โดยการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน และเพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการปรับตัวในการทำงานของพนักงานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่เริ่มทำงานได้ไม่เกิน 6 เดือน เป็นบุคคลที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี และไม่เคยทำงานที่ใดมาก่อน จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามการปรับตัวในการทำงานของพนักงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิจัยโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการปรับตัวในการทำงานของพนักงานรูปแบบที่ 1 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (Chi - square) เท่ากับ 207.71, df = 304, p = 0.999 ค่า RMSEA = 0.000 ค่า RMR= 0.025 GFI= 0.935 และ AGFI= 0.900 โมเดลการปรับตัวในการทำงานของพนักงานรูปแบบที่ 2 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (Chi - square) เท่ากับ 3.70, df = 5, p = 0.593 ค่า RMSEA = 0.000 ค่า RMR= 0.018 GFI= 0.99 และ AGFI= 0.98 และจากผลการวิเคราะห์โมเดลแข่งขัน พบว่า โมเดลการปรับตัวในการทำงานของพนักงานโมเดลที่สอง เป็นโมเดลที่มีความเหมาะสมมากกว่าโมเดลแรก