Publication Ethics

จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) ของบทความในวารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

          เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์นานาชาติ วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาจึงได้กำหนดบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

  1. 1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า ผลงานที่ส่งมานั้น เป็นผลงานใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. 2. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า ผลงาน ข้อความ หรือความคิดเห็นต่างๆ ในผลงานที่ส่งมานั้นมิได้คัดลอกผลงาน ข้อความ หรือความคิดเห็นของผู้อื่น หรือนำผลงาน ข้อความหรือความคิดเห็นของผู้อื่นมาเป็นของตน
  3. 3. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่า รายงานผลงานวิจัยเป็นไปตามที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยจริง ไม่ได้มีการปรุงแต่ง บิดเบือน แก้ไข ดัดแปลงข้อมูลหรือตัวเลขใดๆ เพื่อประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด
  4. 4. ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยหรือมีส่วนร่วมในการวิจัยทางหนึ่งทางใดอย่างแท้จริง
  5. 5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานที่วารสารกำหนด
  6. 6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในผลงานของตนเอง พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  7. 7. แหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้นิพนธ์อ้างอิง ต้องสามารถตรวจสอบได้อย่างแน่ชัด
  8. 8. กรณีเป็นผลงานวิจัย ผู้นิพนธ์ควรระบุแหล่งทุนสนับสนุนในการทำวิจัย
  9. 9. กรณีที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้นิพนธ์ควรระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
  10. 10. กรณีเป็นผลงานวิจัย ผู้นิพนธ์ควรระบุเลขที่ใบรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

  1. 1. บรรณาธิการมีหน้าที่ดำเนินการให้มั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ
  2. 2. บรรณาธิการตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความถูกต้องตามหลักวิชาการ ความใหม่ ความชัดเจน ความสอคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ
  3. 3. บรรณาธิการมีหน้าที่ ตรวจสอบว่าบทความที่ได้รับการตีพิมพ์นั้น เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่อื่นมาก่อน
  4. 4. บรรณาธิการมีหน้าที่ ตรวจสอบบทความด้านการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) โดยมีหลักฐานการตรวจสอบที่เชื่อถือได้
  5. 5. บรรณาธิการต้องพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความและส่งบทความให้ผู้พิจารณาบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบชื่อผู้ประเมินบทความ (Double-blinded Peer Review)
  6. 6. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความ
  7. 7. บรรณาธิการใหม่ไม่กลับคำตัดสินใจการตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้น

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

  1. 1. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความที่ตรงกับศาสตร์และสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ
  2. 2. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับของบทความ ไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทั้งหมดของบทความไปเผยแพร่ ระหว่างการประเมิน จวบจนกว่าบทความนั้นจะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงในวารสารอย่างเป็นทางการ
  3. 3. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ
  4. 4. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความด้วยความเที่ยงธรรม ปราศจากความอคติ ความลำเอียง ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ปราศจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้รองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
  5. 5. ผู้ประเมินบทความเสนอแนะหรือให้คำแนะนำต่อบทความตามหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง