ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรค ในสถานที่สาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Authors

  • เบญจพร(Benjaporn) ประณีตวตกุล(Praneetvatakul)
  • ดุจเดือน(Duchduen) พันธุมนาวิน(Bhanthumnavin)

Keywords:

psychosocial, undergraduate students, communicable disease preventive behavior in public places, ปัจจัยทางจิตสังคม, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, พฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่สาธารณะ

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎีและหลักการที่สำคัญทางจิตวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวทำนายที่สำคัญของปัจจัยด้านจิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่สาธารณะ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 485 คน ประกอบด้วยเพศชาย 166 คน (34.2%) และเพศหญิง 319 คน (65.8%) สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นกำหนดโควต้า โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวม และใน 6 กลุ่มย่อย ซึ่งแบ่งตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า การเห็นแบบอย่างพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวันจากคนรอบข้าง และลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่สาธารณะ (p < .01) และผลการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิม สถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในสถานที่สาธารณะได้ร้อยละ 39.2 ในกลุ่มรวม โดยมีตัวทำนายที่สำคัญที่สุด คือ ความพร้อมที่จะกระทำพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรคในชีวิตประจำวัน และพบว่ากลุ่มเสี่ยง ได้แก่ นักศึกษาที่อายุน้อย นักศึกษาที่มารดามีระดับการศึกษาต่ำ และนักศึกษาที่มีพี่น้อง ผลการวิจัยนี้ ได้ชี้แนะถึงแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพของเยาวชนไทยให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดงานวิจัยไปสู่การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพในอนาคต

Psychosocial as Correlates of Communicable Disease Preventive  Behavior in Public Places of Undergraduate Students

This research was a correlation-comparative study, based on the interactionism model as the conceptual research framework, as well as several important theories both in Thailand and from abroad. The study aimed at investigating the psychological and situational predictors of communicable disease preventive behavior in public places. The sample of 485 undergraduate 3rd year consisted of 166 males (34.2%) and 319 females (65.8%). Random sampling by stratified quota random sampling. Data were analyzed in the total sample group as well as divided into 6 subgroups, categorized according to demographic characteristics. The results revealed that Pearson’s correlation indicated a positive and significant relationship (p < .01) between having good role model about communicable disease preventive behavior in daily life and future orientation and self control. And the results of standard multiple regression analysis showed all independent variables together explained 39.2%. The analysis found that the intention to have communicable disease preventive behavior was the highest level; with at-risk group such as young students, students with low-educated mother and students that have brother or sister. These results have important implications for further research and promoting interventions.

Downloads

Published

2017-10-31

How to Cite

ประณีตวตกุล(Praneetvatakul) เ., & พันธุมนาวิน(Bhanthumnavin) ด. (2017). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการรับและแพร่โรค ในสถานที่สาธารณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Behavioral Science for Development, 10(1), 83–102. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/99679