ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพ และความสุขในการเรียนของนิสิตทันตแพทย์

Authors

  • ปริญวิทย์ (Pariyawit) นุราช (Nurash) บัณฑิตระดับมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิชุดา (Wichuda) กิจธรธรรม (Kittonthom) อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Abstract

Psychosocial  Factors  Related to the learning to  Professional Competency and Happiness among Dental Students

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมในเชิงสาเหตุด้านปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพของนิสิตทันตแพทย์ในกลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตทันตแพทย์ ชั้นปีที่ 5  จำนวน  280 คน  แบบสอบถามเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่ารวม 6 ระดับ แบบวัดจำนวน 10 แบบวัด มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .705 ถึง .914 และใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง วิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณแบบมีลำดับ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่ามี 6 เรื่อง 1) ตัวแปรเชาวน์อารมณ์และสภาพแวดล้อมทางการเรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพด้านรวมและด้านย่อยอีก 3 ด้านได้แก่ความเป็นวิชาชีพความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานและทักษะทางคลินิก 2) ตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพของนิสิตทันตแพทย์ในด้านความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก 3) ตัวแปรลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตนและการถ่ายทอดทางวิชาชีพมีปฏิสัมพันธ์ร่วมส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพของนิสิตทันตแพทย์ด้านย่อย 1 ด้านได้แก่ความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 4) ตัวแปรเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพทันตแพทย์และสภาพแวดล้อมทางการเรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพของนิสิตทันตแพทย์ในด้านความเป็นวิชาชีพและความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 5) ปัจจัยทางจิตทั้ง 4 ตัวแปรสามารถทำนายพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพของนิสิตทันตแพทย์ได้เพิ่มขึ้นจากปัจจัยทางสังคมทั้ง 3 ตัวแปรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยโดยมีร้อยละการทำนายที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 13.40 ถึง 34.60 และ 6) พฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการเรียนของนิสิตทันตแพทย์ระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ:ปัจจัยทางจิตสังคมพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพความสุขในการเรียน


Downloads

Published

2015-01-31

How to Cite

นุราช (Nurash) ป. (Pariyawit), & กิจธรธรรม (Kittonthom) ว. (Wichuda). (2015). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนตามสมรรถนะวิชาชีพ และความสุขในการเรียนของนิสิตทันตแพทย์. Journal of Behavioral Science for Development, 7(1). Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/29920