การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนคุณภาพ: กรณีศึกษาระบบราชการไทย

Authors

  • อังศินันท์ อินทรกำแหง รองศาสตราจารย์ ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว
  • นริสรา พึ่งโพธิ์สภ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว
  • สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์ อาจารย์ ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว
  • ก่อเกียรติ์ มหาวีรชาติกุล อาจารย์ ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ธัชพล ปราบแสนพ่าย นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

high performance and potential system, utilization of talents, improvement of a talent management system

Abstract

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนคุณภาพในระบบราชการและค้นหาแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการกลุ่มกำลังคนคุณภาพในระดับองค์กร โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบพหุวิธีซึ่งอาศัยเทคนิควิธีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลจากข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงจำนวน 404 คน วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของข้าราชการกลุ่มกำลังคนคุณภาพของส่วนราชการอยู่ในระดับดี และผลสัมฤทธิ์ด้านผลผลิตสูงกว่าด้านผลลัพธ์และผลกระทบ และส่วนราชการมีความพร้อมในการบริหารจัดการกลุ่มกำลังคนคุณภาพในระดับพอใช้ คือมีการบริหารจัดการกลุ่มกำลังคนคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิจากส่วนราชการและหน่วยงานเอกชนต้นแบบที่ถูกคัดเลือกแบบเจาะจงรวมทั้งสิ้น 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสนับสนุนการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงตามแนวคิดโมเดลรูปแบบเหตุผล และพบว่าส่วนราชการต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาระบบการสรรหาและคัดเลือกกลุ่มกำลังคนคุณภาพที่เข้มข้น จัดเตรียมแผนการสืบทอดตำแหน่งอย่างเป็นระบบ และเน้นผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง เป็นต้น ผลของงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะ พฤติกรรม และประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงของส่วนราชการไทย

References

Bersin, J. (2015). Why people management is replacing talent management. Retrieved from http://joshbersin.com/2015/01/why-people-management-is-replacing-talent-management/

Bloom, B. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York, NY: McGraw-Hill

Gillis, J. (2012). Talent management maturity assessment. Retrieved from http://s.zoomerang.com/s.aspx?sm=PMcicHilM%2bp2HPnQ78m0rg%3d%3d

IBM. (2008). Integrated talent management: Part 1 - Understanding the opportunities for success. Retrieved from http://www.ibm.com/services/us/gbs/bus/pdf/gbe03071-usen-talentpart1.pdf

IBM. (2019). IBM Human resources solutions. Retrieved from https://www.ibm.com/talent-management/hr-solutions

Intarakamhang, U., & Kittipichai, W. (2011). Kān sưksā rabop kāntittām khwām kāonā kānbō̜rihān čhatkān rabop HiPPS khō̜ng sūan rātchakān [A study of progression monitoring system of high performance and potential system (HiPPS) administration of Thai government] (Research report). Retrieved from http://bsris.swu.ac.th/upload/134.pdf

Intarakamhang, U., & Peungposop, N. (2013). Kān prapprung prasitthiphāp kānbō̜rihān kamlang khon khunnaphāp phư̄a khwām tō̜nư̄ang nai kānbō̜rihān rātchakān [Effective improvement of talent management for continuing of managing government] (Research report). Retrieved from http://bsris.swu.ac.th/upload/142.pdf

Intarakamhang, U., Tuntivivat, S., Chavanovanich, J., Prasittichok, P., & Chanthasiri, Y. (2019). Patčhai khwāmsamret læ nǣothāng kānphatthanā kamlang khon khunnaphāp dān manutsayasāt læ sangkhommasāt thī mī khunnaphāp [Success factors and guidelines of human resources development in humanities and social sciences in higher education]. Warasan Pruetikamsat, 25(2), 152-170.

Kittipichai, W., Intarakamhang, U., & Kaewpijit, J. (2010). Kānpramœ̄nphon laksūt kānphatthanā phūbō̜rihān sathāban ʻudomsưksā (nō̜bō̜ʻō̜.) tām khrōngkān sœ̄msāng khwāmkhēmkhæng dān kānbō̜rihān mahāwitthayālai mai [Evaluation of developing course of middle administrators in higher education institutions to strengthen the administration of new universities]. Warasan Pruetikamsat, 16(1), 56-70.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative Data Analysis: An Expanded Sourcebook. Thousand Oaks, CA: SAGE.

O’Leonard, K., & Harris, S. (2010). Bersin & associates talent management maturity model. Retrieved from http://www.bersin.com/Practice/Detail.aspx?id=12730

Office of the Civil Service Commission (OCSC) (2012). Khūmư̄ rabop HiPPS: Khūmư̄ kānbō̜rihān čhatkān kamlang khon khunnaphāp (PRIDE) [HiPPS system manual: Talent management manual (PRIDE)]. Bangkok: Sriboon Computer-Printing Limited Partnership

Office of the National Economic and Social Development Council. (2018). Yutsātchāt phutthasakrāt 2561-2580 (chabap yō̜ ) [National strategy B.E. 2561-2580 (abridged version)]. Retrieved from https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf

Pankratz, D. (2008). Program evaluation and community schools of the arts, purposes, concepts, and tools. Retrieved from http://www.nationalguild.org/pdfs/ProgramEval.pdf

Paranasuwan, R. (2018). Kāntittām pramœ̄nphon: Phārakit samkhan nai kānphatthanā bukkhalākō̜n [Monitoring and evaluation: The important mission to personnel development]. Retrieved from http://ejournal.nidtep.go.th/PDF/pdf5be2a87448364.pdf

SHL. (2008). Guidelines for best practice in integrated talent management. Retrieved from https://www.scribd.com/document/225618533/Best-Practice-in-Integrated-Talent-Management

SHL. (2019). Human resource executive awards SHL’s verify interactive a 2019 top HR product. Retrieved from https://www.shl.com/en/newsroom/press-releases/human-resource-executive-awards-shls-verify-interactive-a-2019-top-hr-product/

Downloads

Published

2020-01-31

How to Cite

อินทรกำแหง อ., พึ่งโพธิ์สภ น., ตันติวิวัทน์ ส., มหาวีรชาติกุล ก., & ปราบแสนพ่าย ธ. (2020). การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์กลุ่มกำลังคนคุณภาพ: กรณีศึกษาระบบราชการไทย. Journal of Behavioral Science for Development, 12(1), 56–73. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/226105