THE PERCEPTION OF TEACHING ISLAMIC STUDIES PRE-SERVICE TEACHERS AND ISLAMIC STUDIES TEACHERS ON TEACHING BEHAVIORS TO ENCOURAGE THE STUDENTS’ CRITICAL THINKING SKILLS IN THE THAI SOUTHERN-BORDER CONTEXTS.
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการสอน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การสอนอิสลามศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน ตามการรับรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาชาวิชาการสอนอิสลามศึกษาและครูอิสลามศึกษา และเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีอภิปรายกลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 8 คน สังกัดสถาบันอุดมศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และผู้ให้ข้อมูลรองเป็นครูอิสลามศึกษา จำนวน 3 คน จากโรงเรียนของรัฐ 3 แห่ง และจากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการสอนที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ 1) พฤติกรรมด้านการสอน ได้แก่ ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน ครูสอดแทรกกิจกรรมเสริมพร้อมกับเนื้อหาในบทเรียน ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประดิษฐ์สื่อการเรียนด้วยตนเอง ครูรับฟังและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในห้องเรียน และครูสอนโดยใช้คำถาม 2) พฤติกรรมด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ ครูเข้าหาผู้เรียนนอกเวลาเรียน ครูเปลี่ยนบรรยากาศห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ ครูทบทวนความรู้หลังเลิกเรียนให้กับผู้เรียน 3) พฤติกรรมด้านอารมณ์และสังคม ได้แก่ ครูควบคุมอารมณ์ของตนเอง ครูเข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของผู้เรียน และครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้การศึกษาพบว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องของพฤติกรรมการสอนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เงื่อนไขภายในบุคคล ได้แก่ การศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง ความรู้จากรายวิชาที่เรียน การเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาการฝึกสอน ประสบการณ์จากการสังเกตการสอน และคุณลักษณะของผู้เรียน 2) เงื่อนไขภายนอกบุคคล ได้แก่ คำแนะนำจากอาจารย์นิเทศก์ การมีบุคคลต้นแบบ คำแนะนำจากครูพี่เลี้ยง กำลังใจจากคนในครอบครัว และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชน
References
จิตราภรณ์ พงษ์มาลี. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของครูกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6. (การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
จินดา ทัพจีน. (2546). พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษากลุ่มกรุงธนเหนือ. (การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2553). วิกฤตการศึกษาไทย ชี้ด้วย O-NET, I-NET, V-NET, U-NET, N-NET GAT และ PAT. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). นโยบายหลักเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2554-2561). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ajzen, I. (2002). Perceived behavioral control, self‐efficacy, locus of control, and the theory of planned behavior 1. Journal of applied social psychology, 32(4), 665-683.
Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st century skills: Rethinking how students learn. IN: Solution Tree Press.
Elder, L., & Paul, R. (2012). 30 Days to Better Thinking and Better Living Through Critical Thinking: A Guide for Improving Every Aspect of Your Life, Revised and Expanded. NY: Pearson Education.
Fahim, Mansoor Masouleh, & Shakouri, N. (2012). Critical thinking in higher education: A pedagogical look. Theory and practice in language studies, 2(7), 1370.
Fisher, R. (2001). Philosophy in primary schools: fostering thinking skills and literacy. Reading, 35(2), 67-73.
Halim, L., Meerah, T. S. M., & Buang, N. A. (2010). Developing pre-service science teachers’ pedagogical content knowledge through action research. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 9, 507-511.
Hein, V. (2012). The effect of teacher behaviour on students motivation and learning outcomes: a review. Acta Kinesiologiae Universitatis Tartuensis, 18, 9-19.
Krathwohl, D. R. (2002). A revision of Bloom's taxonomy: An overview. Theory into practice, 41(4), 212-218.
Kyriakides, L., Creemers, B. P., & Antoniou, P. (2009). Teacher behaviour and student outcomes: Suggestions for research on teacher training and professional development. Teaching and teacher education, 25(1), 12-23.
Lai, E. R. (2011). Critical thinking: A literature review. Pearson's Research Reports, 6, 40-41.
Lewis, A., & Smith, D. (1993). Defining higher order thinking. Theory into practice, 32(3), 131-137.
Nair, S., & Ngang, T. K. (2012). Exploring Parents’ and Teachers’ Views of Primary Pupils’ Thinking Skills and Problem Solving Skills. Creative Education, 3(01), 30.
O Nyumba, T., Wilson, K., Derrick, C. J., & Mukherjee, N. (2018). The use of focus group discussion methodology: Insights from two decades of application in conservation. Methods in Ecology and Evolution, 9(1), 20-32.
Palys, T. (2008). Purposive Sampling. In L. M. Given (Ed.), The Sage encyclopedia of qualitative research methods. California: Sage Publications.
Partnership for 21st Century Skills. (2008). 21st Century Skills, Education & Competitiveness: A Resource and Policy Guide. AZ: Partnership for 21st Century Skills.
Pössel, P., Rudasill, K. M., Adelson, J. L., Bjerg, A. C., Wooldridge, D. T., & Black, S. W. (2013). Teaching behavior and well-being in students: Development and concurrent validity of an instrument to measure student-reported teaching behavior. International Journal of Emotional Education, 5(2), 5.
Reja, U., Manfreda, K. L., Hlebec, V., & Vehovar, V. (2003). Open-ended vs. close-ended questions in web questionnaires. Developments in applied statistics, 19, 159-177.
Siedlaczek, K. (2004). Perceptions about teaching online versus in a classroom environment. College Quarterly, 7(3), n3.
Sternberg, R. J. (1985). Beyond IQ: A triarchic theory of human intelligence. NY: Press Syndicate of the University of Cambridge.
Zemelman, S., Daniels, H., & Hyde, A. (2005). Best Practice Today’s Standards for Teaching and Learning in America’s Schools (Third Edition ed.). Portsmouth, New Hampshire: Heinemann.