ปัจจัยภายในบุคคลและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย

Authors

  • ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์ School of Social Sciences, Chiang Rai Rajabhat University

Keywords:

Volunteering behavior, Motivation, Attitude, Village health volunteer, Chiang Rai, Social support

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบ ซึ่งมีกรอบแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีปัญญาสังคมของแบนดูรา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอำนาจการทำนายของปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่มีต่อพฤติกรรมอาสาสมัครของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และ 2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย จำนวน 156 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมอาสาสมัคร แรงจูงใจใฝ่อาสาสมัคร เจตคติที่ดีต่อการอาสาสมัคร และการสนับสนุนทางสังคม ที่มีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .893 ถึง .914 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยวิธีนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมอาสาสมัครอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01) 2) ปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมอาสาสมัครด้านการเสียสละช่วยเหลือและด้านการมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งพัฒนาแก้ไขได้ร้อยละ 12.50 และร้อยละ 25.80 (p<.01) และ 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในบุคคลและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อพฤติกรรมอาสาสมัคร (p<.05) ผลการวิจัยนี้ ได้ชี้แนะแนวทางการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมอาสาสมัครสุขภาพของชุมชน และเป็นพื้นฐานในการต่อยอดเพื่อทำการศึกษาพฤติกรรมอาสาสมัครในบริบทชุมชนต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ: พฤติกรรมอาสาสมัคร  แรงจูงใจ  เจตคติ  การสนับสนุนทางสังคม  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

References

นิพิฐพนธ์ แสงด้วง. (2560). เส้นทางการทำงานอาสา และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมอาสา ที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในการทำงานอาสา ของบุคลากรมหาวิทยาลัยภาครัฐ (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.
พระมหาจันทร์ธรรม อินทรีเกิด, วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี และอรพินทร์ ชูชม (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างจิตลักษณะและสถานการณ์ทางสังคมกับประสิทธิภาพการทำงานของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 2(1), 55-64.
ศุภรัตน์ รัตน์มุขย์. (2553). ย้อนอดีต มุ่งอนาคต จิตอาสาในสังคมไทย. วารสารสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร, 6(2-1), 15-47.
สุพัฒนา บุญแก้ว. (2556). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครของยุวกาชาดในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2558). การเตรียมความพร้อมสู่การทำงานอาสาสมัครและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการสุขภาวะตนเองที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอาสาของบุคลากรมหาวิทยาลัย. รายงานการวิจัยฉบับที่ 162. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. Engleewood Cliffs, NJ: Prentic-Hall, Inc.
Chacon F., Perez T., Flores J. & Vecina L. M. (2011). Motive for Volunteering: Categorization of Volunteers’ Motivations Using Ended-Open Questions. Psychology in Spain, 15(1), 48-56.
Kline, R. (2005). Principles and practice of structural equation modeling. (2nd ed.). New York: Guilford Press.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.
McGuire, W. J. (1985). Attitude and attitude change. The handbook of social psychology (3rd ed.). New York: Random House.
Translated Thai References (ส่วนที่แปลรายการอ้างอิงภาษาไทย)
Bonkeaw, S. (2013). Psychological factors related to volunteer behavior of The Red Cross youth volunteers in bangkok (Master’s thesis). Srinakharinwirot University, Graduated School.
Inteekred, Pramaha. J., Chuawanlee, W. & Choochom, O. (2010). The relationship of psychological characteristics social situation and work efficiency of rescue volunteers form Ruankatanyu foundation in Bangkok. Journal of Behavioral Science for Development, 2(1), 55-64.
Intarakamhang, U. (2015). Readiness preparation to volunteer working and causal relationship model development to self-wellness management related to volunteer working of university staff (162th Research report). Bangkok: Srinakharinwirot University, Behavioral Science Research Institute.
Rattanamok, S. (2009). Past and future perspective of volunteer in Thai context. Journal of Graduate Volunteer Centre, 6(2-1), 15-47.
Seangdoung, N. (2017). Volunteering and causal relationship model of volunteering behavior and the retention of volunteer work among public university staff (Doctoral dissertation). Srinakharinwirot University, Graduated School.

Downloads

Published

2019-01-31

How to Cite

จันท์พิพัฒน์พงศ์ ธ. (2019). ปัจจัยภายในบุคคลและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. Journal of Behavioral Science for Development, 11(1), 1–14. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBSD/article/view/136000