การถ่ายทอดทางสังคมในการเล่นหมากล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
Keywords:
creative problem solving, the game of Go, socialization, การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, การเล่นหมากล้อม, การถ่ายทอดทางสังคมAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการถ่ายทอดทางสังคมในการเล่นหมากล้อมว่ามีกระบวนการอย่างไรและส่งผลต่อผู้เรียนอย่างไรบ้าง โดยเลือกแบบแผนการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเฉพาะเจาะจง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนหมากล้อมชาวไทย จำนวน 5 คน 2) ครูผู้สอนหมากล้อมชาวญี่ปุ่น 2 คน 3) ผู้ปกครอง จำนวน 1 ครอบครัว วิธีการเก็บข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกต ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อหาแบบแผนและจัดกลุ่มข้อมูลแบบผสมระหว่างข้อมูลจากสนามการวิจัยและแนวคิดทฤษฎี ผลการศึกษา 1) ในด้านการถ่ายทอดทางสังคมพบว่า ครูผู้สอนหมากล้อม มีบทบาทสำคัญคือเป็นผู้ถ่ายทอดทางสังคมแก่ผู้เรียน โดยมีเนื้อหาในการถ่ายทอดประกอบด้วย กฎกติกา เทคนิคในการเล่นหมากล้อม ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา และ เรียนรู้แนวคิดในการเล่นหมากล้อม มีวิธีการถ่ายทอดใช้เทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะของผู้เรียน 2) ผลจากการถ่ายทอดทางสังคมพบว่า ผู้เรียนรับเอากระบวนการถ่ายทอดทางสังคมมาเข้าสู่กระบวนการภายในจิตใจผ่านการพูดกับตนเองในใจ ทำให้เกิดความเข้าใจในความหมายของการกระทำและส่งผลต่อ การใช้เหตุผล คามเป็นตน การรับรู้ความสามารถของตนเอง การนำแนวคิดในการเล่นหมากล้อมไปประยุกต์ใช้ และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
Socialization Process in the Game of “GO” for Developing Creative Problem Solving
The objective of study was to examine the socialization process in the game of go and the consequences from play the game of Go. We choose case study research method key informants were selected by purposive sampling for 3 groups 1) Thai Go instructor, 2) Japanese Go instructor, and 3) Parents. We used in-depth interviews and participant as observer for collecting data. Content analysis was used to pattern matching and mixed domains. The results 1) for socialization the Go instructor was the key agent; which contents were rule of the game of Go, Go technique, how to plan and problem solving and concept in the game of Go, in tactics of socialization are scaffolding for help and support skill for novice. 2) output from socialization began from externalization control to internalization control by inner speech to understand the meaning of action and created 5 skills a) reasoning b) self c) self-efficacy d) apply to real life and e) creative problem solving. These results have important implications for further research about scaffolding in socialization and found new way to study development in psychology of board games.