การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าแฮนด์เมด บ้านเวียงหอม ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ยศแสน นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ลัดดา สามแก้ว นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วราภรณ์ กันใจ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร.จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย รองศาสตราจารย์ประจำสำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

กระเป๋าแฮนด์เมด, ต้นทุน, การพัฒนาผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและออกแบบกระเป๋าแฮนด์เมด 2) เพื่อศึกษาต้นทุนสินค้าของกระเป๋าแฮนด์เมด และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อกระเป๋าแฮนด์เมด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบอาชีพทำกระเป๋าแฮนด์เมด หมู่บ้านเวียงหอม ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความสนใจหรือความต้องการซื้อกระเป๋าแฮนด์เมดในจังหวัดเชียงราย จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการศึกษา พบว่า 1) กระเป๋าแฮนด์เมดที่ผู้ศึกษาพัฒนาและออกแบบ มีลักษณะรูปทรงใหม่ สวยงาม และทันสมัย โดยผสมผสานความทันสมัยกับภูมิปัญญาดั้งเดิม 2) ต้นทุนในการผลิตกระเป๋าแฮนด์เมดขนาดพกพาขนาดเล็ก 10 ใบ มีต้นทุนในการผลิต 325 บาท แบบใส่ธนบัตร 5 ใบ มีต้นทุนในการผลิต 450 บาท และแบบสะพายข้าง 5 ใบ มีต้นทุนในการผลิต 897.50 บาท และ 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าแฮนด์เมด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.58) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการจัดจำหน่าย (gif.latex?\bar{x}= 4.66) รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์กระเป๋าแฮนด์เมด      (gif.latex?\bar{x}= 4.55) และด้านประโยชน์การใช้งาน (gif.latex?\bar{x}= 4.54) ตามลำดับ

References

ทศธรรม สิงคาลวณิช. (2553). รูปแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มในอาคารชุดพักอาศัยระดับกลางบนถึงระดับบนในเขตวัฒนา-คลองเตย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทศพล ต้องหุ้ย, ธนพล กองพาลี และอณิยา ฉิมน้อย. (2562 มกราคม 3). มุ่งสู่เศรษฐกิจไร้เงินสด: พฤติกรรมผู้บริโภคและโอกาสของธุรกิจไทยช่วงโควิด 19. แหล่งที่มา https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_21Jul2020.aspx.

นริสรา ลอยฟา. (2562). การเพิ่มมูลค่าสินค้าและเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมลายลูกแก้ว ตําบลนิคมพัฒนา อําเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 214-226.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชณีกร พิศพานต์. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ไหมพรมโครเชท์ผ่านออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

พงศ์ศรันย์ พลศรีเลิศ. (2556). กลยุทธ์สำหรับธุรกิจ Handmade. แหล่งที่มา https://phongzahrun.wordpress.com/2013/05/20/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-handmade/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

Chematory, L., Harris, F., & Dall’Olmo Riley, F. (2000). Added Value: Its nature, Ro

le and Sustainability. European Journal of Marketing, 34(2), 39-56.

Leather Mine Co., Ltd... (ม.ป.ป.). แฮนด์เมด (Handmade) คืออะไร. แหล่งที่มาhttp://www.leathermine.com/knowledge_small_leather_goods_handmade.htm.

Mccathy & Pereault, Jr. (1991). Basic Marketing. New York: Mc Graw-Hill.

Naumann, E. (1995). Creating Customer Value. The Part to Sustainable Competitive Advantage. Thompson Executive Press, OH.

Ravald & Gronroos. (1996). The value concept and relationship marketing. European Journal of Marketing, 30(2), 19-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-01-2023