จริยธรรมการตีพิมพ์

     วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ให้ความสำคัญต่อการรักษามาตรฐานทางวิชาการ การวิจัย และมาตรฐานด้านจริยธรรมของบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกสู่สังคม ดังนั้นจึงกำหนดให้ผู้เกี่ยวข้องกับวารสารฯ ต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ ของวารสาร ดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Author)

1. บทความที่ผู้นิพนธ์ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในเอกสารที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ ต้องไม่นำบทความเรื่องที่กำลังเสนออยู่กับวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ไปเสนอยื่นตีพิมพ์กับวารสารอื่นๆ พร้อมกัน จนกว่าจะได้รับแจ้งการปฏิเสธ จากกองบรรณาธิการของวารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แล้ว เท่านั้น
3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนดไว้ตาม "คำแนะนำสำหรับผู้ส่งบทความ" เท่านั้น
4. ผู้นิพนธ์ต้องทำการอ้างอิงตามระบบของวารสารฯ ทุกครั้ง เมื่อนำผลงานหรือข้อความความของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงประกอบเนื้อหาในบทความของตน
5. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอข้อมูลในบทความตามข้อเท็จ มีหลักการทางวิชาการ
6. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในบทความเรื่องนั้นๆ จริง
7. หากบทความของผู้นิพนธ์มีความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม อาสาสมัคร หรือกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่มีความเปราะบาง ผู้วิจัยควรปฏิบัติตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ก่อนดำเนินการเก็บข้อมูล และควรระบุถึงหมายเลขทะเบียน และหน่วยงานที่ได้เสนอขอรับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยต้องระบุลงในบทความ
8. ผู้นิพนธ์ควรระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย (ถ้ามี)

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ (Editor in Chief)

1. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ มีหน้าที่รักษามาตรฐาน และคุณภาพของวารสารให้มีความน่าเชื่อถือ และมีความทันสมัยอยู่เสมอ
2. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบคุณภาพของบทความทุกบทความ ที่เสนอเข้ามาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ลงในวารสารฯ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสารฯ ตรวจสอบคุณภาพกระบวนการประเมินบทความก่อนการตีพิมพ์
3. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องใช้หลักการพิจารณาบทความอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการเป็นสำคัญ ไม่มีอคติต่อผู้นิพนธ์ และอคติต่อบทความที่พิจารณา
4. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องไม่เปิดเผยชื่อผู้นิพนธ์และชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต่อบุคคลอื่นๆ
5. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
6. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องไม่ปิดกั้น ปรับเปลี่ยนดัดแปลงผลการพิจารณาระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ กับผู้นิพนธ์บทความนั้นๆ
7. บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ ของวารสารฯอย่างเคร่งครัด

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (Reviewer)

1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ควรให้ความสำคัญ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของการเป็นผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ โดยต้องพิจารณาบทความที่ได้รับมอบหมายด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการปราศจากอคติต่อเนื้อหาในบทความ
2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ไม่แสดงตนว่าได้รับการพิจารณาบทความเรื่องนี้ และไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้กับบุคคลภายนอก หรือสื่อสังคมออนไลน์ก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่
3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องตระหนักว่าตนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่จะรับประเมินอย่างแท้จริง กรณีที่ไม่สามารถประเมินบทความได้ หรือมีเหตุที่ไม่สามารถประเมินได้ ต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารฯ ทันที
4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ควรมีข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และชี้นำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ
5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความที่ทำการประเมิน
6. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องรักษาขอบเขตระยะเวลาในการประเมินบทความตามที่กำหนด ไม่ให้เกินกำหนดระยะเวลา
7. กรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ พบว่า บทความที่กำลังประเมินมีการคัดลอกผลงานผู้อื่น ต้องแจ้งแก่บรรณาธิการวารสารฯ ทันที พร้อมทั้งแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน