การพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า : กรณีศึกษาบานาน่ามอส จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กรณีศึกษาบานาน่ามอส โดยใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาตราสินค้าเดิมให้ดีขึ้น มีการดำเนินงานลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของตราสินค้าในด้านผลิตภัณฑ์และด้านการออกแบบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าตราสินค้าบานาน่ามอส มีผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลาย โดยมีจุดเด่นคือกล้วยตากเสียบตอก โดยได้รับการสนับสนุนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากภาครัฐ สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด ไม่สามารถสร้างการจดจำในกลุ่มผู้บริโภคได้ ด้านบรรจุภัณฑ์ต้องการปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจในรูปแบบของฝาก กระบวนการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้เป็นการนำเรขศิลป์และบรรจุภัณฑ์กล้วยตากเสียบตอกมาพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้กับบรรจุภัณฑ์สินค้าอื่น ๆ รวมถึงนำไปใช้กับการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายเพื่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของตราสินค้า โดยการออกแบบเลือกใช้สีที่สื่อถึงกล้วยและความเป็นธรรมชาติ ได้แก่ สีเหลือง เขียว และน้ำตาล รวมถึงเรขศิลป์รูปกล้วยและใบตอง
Article Details
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้แต่งบทความ ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Brandage. (2561). เครือข่าย YSF มุ่งสร้างเศรษฐกิจฐานรากเข้มแข็ง เชื่อมโยงชุมชน พัฒนาเป็นวิสาหกิจฯ
ก้าวสู่เจ้าของธุรกิจ. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.brandage.com /article/13346/Young-Smart-Farmer
กรมวิชาการเกษตร. (2557). แผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนางานวิจัยกล้วย พ.ศ.2559-2563. กรุงเทพฯ: (ม.ป.พ.)
ธารริน อดุลยานนท์. (2562). Local Creative เรื่องกล้วยๆ. ค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2562, จากhttps://readthecloud.co/local-banana-leaf-product
สฤษดิ์ น้ำใจเพ็ชร. (2555). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยตาก.
วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 3(1), 36-48.
สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์ = Corporate identity. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: Core Function.
สุรพงษ์ ประเสริฐศักดิ์. (2552). องค์ประกอบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลให้สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้า. ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.