การศึกษาแนวทางการนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัตถุดิบในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดสปา

Main Article Content

อนุชา เสลานอก
ธีระยุทธ์ เพ็งชัย
มาริญา ทรงปัญญา

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัสดุในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดสปา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัสดุออกแบบผลิตภัณฑ์ 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุดสปา 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมาใหม่จากกากกาแฟ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกากกาแฟ 1 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเชิงนิเวศ ค่าเฉลี่ย


            ผลการวิจัยพบว่า 1) วัสดุเหลือใช้จากกากกาแฟเป็นวัสดุธรรมชาติมีลักษณะละเอียด แข็ง สีน้ำตาลเข้ม มีน้ำมันอยู่ในเมล็ดและมีกลิ่นหอม การนำกากกาแฟมาใช้เป็นวัสดุหลักในการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดสปา จึงต้องมีวัสดุอื่นมาผสมเพื่อเสริมโครงสร้างความแข็งแรงให้กับวัสดุ และควรให้ความสำคัญกับเรื่อง เชื่อรา การทำความสะอาด ไม่ลามไฟ และไม่ซึมน้ำ 2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดสปาประกอบด้วย ถาดรอง จานรองเทียน เทียนหอม ถ้วยใส่ครีมและบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นคุณค่าทางวัสดุ กรรมวิธีการผลิตโดยการผสมกับพลาสติกในการขึ้นรูป สามารถใช้งานได้จริง ทำความสะอาดได้ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยใช้แรงบันดาลใจด้านรูปทรงจากเมล็ดกาแฟ 3) ผลการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อผลิตภัณฑ์พบว่า (3.1) ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมด้านการใช้งานของผลิตภัณฑ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.08) (3.2) ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมด้านวัสดุ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.21) 3.3) ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมในการออกแบบด้านความสวยงามโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.19) (3.4) ความคิดเห็นด้านความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.36) (3.5) ความคิดเห็นด้านการพัฒนาด้านรูปแบบและความสวยงามของผลิตภัณฑ์โดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.23) 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เฉลิมทศ เจริญสุข. (2537). กระเพาะปลูกและแปรรูปกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า โรบัสต้า. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์ เพรชกะรัตจำกัด.

นวลน้อย บุญวงค์. (2542). หลักการออกแบบ. พิมพ์ครั้งที่2. แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูลและพัชรี ปรีดาสุริยะชัย. (2558). การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 7 ฉบับที่ 13 มกราคม - มิถุนายน 2558.

รพีพรรณ กองตูม. (2560). เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 5 ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงวิจัย; 1 มีนาคม 2560; ราชบุรี.

สิงห์ อินทรชูโต. (2552). REUSE ศิลปะการคืนชวิตให้ขยะ. กรุงเทพฯ: พาบุญมาจำกัด.

www.vppcoffee.com.2558