โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษา วิเคราะห์และค้นหาอัตลักษณ์งานศิลปะเครื่องประดับร่วมสมัยเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาและเผยแพร่งานออกแบบที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจและสังคมสร้างสรรค์ ณ ขณะ: เครื่องประดับไทยร่วมสมัย(ไร้)เชิงโครงสร้าง

Main Article Content

ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์

บทคัดย่อ

       โครงการวิจัยนี้ มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนางานด้านการออกแบบที่สัมพันธ์กับศิลปวัฒนธรรม เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของงานออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัยที่สะท้อนถึงศิลปะ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต โดยการศึกษาและวิเคราะห์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์และทุนนิยมในปัจจุบัน การขาดการสื่อสารกับคนในสังคมให้เข้าใจถึงคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมนั้น เป็นความล้มเหลวในการธำรงรักษาไว้ซึ่งองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมของชาติในฐานะมรดกของชาติ 


วิธีการดำเนินการวิจัย: การทบทวนวรรณกรรม วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยวิธีการสัมภาษณ์และการสังเกต รวมทั้งกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์  ผลที่ได้มีดังนี้


  1. แนวทางค้นหาอัตลักษณ์ของงานออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัยสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี

           1.1 เครื่องประดับไทยร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “การเกิดพันธุ์ผสม (Hybridizations)” คือการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรมเดิม (ปัจจัยเดิม) กับอิทธิพลภายนอก (ปัจจัยใหม่) จนเกิดการหล่อหลอมเป็นวัฒนธรรมใหม่ ก่อให้เกิดเครื่องประดับในบทบาทของภาษาทางวัฒนธรรมร่วมสมัยและคุณค่าใหม่ทางสังคมและวัฒนธรรม ที่มีอัตลักษณ์ของการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัยไทยสอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบัน


           1.2 เครื่องประดับไทยธรรมดา หมายถึงอัตลักษณ์ไทยร่วมสมัยแบบไทยๆ (Vernacular Thai) หรือไทยธรรมดา (Ordinary Thai) ซึ่งมีความร่วมสมัยอยู่แล้วในตัวอยู่ทุกขณะ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันปัจจุบันและสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในวิถีชีวิตของผู้คนหรือสามารถเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษได้ว่า วัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ (Popular Culture)  หรือเรียกสั้นๆว่า วัฒนธรรมป๊อปไทยธรรมดามีความยืดหยุ่นสูง ง่ายๆ สบายๆ ไม่อิงอยู่กับ“ไทยประเพณี”อย่างแข็งขืน ไม่มีข้อจำกัด แนวคิดนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือการด้นสด (Improvisation) ด้วยการรื้อสร้างทั้งทางกายภาพและมโนคติของบริบททางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดภาษาทางวัฒนธรรมร่วมสมัยของเครื่องประดับแนวทางนี้เสาะหาช่องทางใหม่ของการสื่อสารและอภิปรายถึงความเป็นไปได้ในฐานะเครื่องมือสำหรับการตั้งคำถามถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของวัฒนธรรมวัฒนธรรมป๊อปปู-ล่าร์ในเครื่องประดับ


  1. อัตลักษณ์ใหม่ของเครื่องประดับร่วมสมัยไทยคือทวิภาวะ เกิดจากแนวคิดของการผสมผสานทางวัฒนธรรมและพื้นฐานของความเป็นคนไทย

  2. การผสมผสานทางวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดอัตลักษณ์ใหม่ของเครื่องประดับร่วมสมัยไทย และเกิดนวัตกรรมทางวัฒนธรรม นำไปการพัฒนานักออกแบบและศิลปิน ส่งเสริมสังคมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีพื้นฐานอยู่บนการพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ. (2535). ถนิมพิมพาภรณ์. กรุงเทพ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). ศิลปวัฒนธรรมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

ปรามินทร์ เครือทอง. (2550). เรียงความประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันเรียนรู้และสร้างสรรค์(พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้).

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2546). จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณี สู่สมัยใหม่และร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : บ้านหัวแหลม.

นิยพรรณ ผลวัฒนะ วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

กรมศิลปากร. (2557). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน กรมธนารักษ์. (2554). ทรัพยสินมีค่าของแผ่นดิน ความงามอันทรงคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).

ประชา สุวีรนนท์และเกษียร เตชะพีระ. 2554. อัตลักษณ์ไทย: จากไทยสู่ไทยๆ และ บริโภคความเป็นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: ฟ้าเดียวกัน.

สุริชัย หวันแก้วและกนกพรรณ อยู่ชา. (2552). ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยบนความหลากหลายและสับสน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: Green Print Co.,Ltd.

ศูนย์บันดาลไทย,กระทรวงวัฒนธรรม. (2558). ฝากไทย: ถอดรหัสเสน่ห์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพ: กระทรวงวัฒนธรรม.

ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ. (2553). ศิลปกรรมไทยกับการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม. เอกสารสัมนาวิชาการกะเทาะเปลือกวัฒนธรรม : การปรับเปลี่ยนท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ : หน้า 2-3
นิตยาสารชีส (Cheeze). (2557). 10th Years Anniversary. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์ พรินท์.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2552). ทางรอด... ทางเลือก: Facing the Challenges. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)

KVB Publishing House Germany. (2551). Bangkok: Portrait of an Innovative Economic and Cultural Region. Bangkok: Thai Watana Panich Press Co., Ltd.

Liesbeth den Besten. (2011). ON JEWELLERY A COMPENDIUM of international contemporary art jewellery. Germany: ARNOLDSCHE Art Publishers.

Susan Cohn. (2012). Unexpected Pleasures the Art and Design of Contemporary Jewellery. China: Rizzoli International Publications, Inc.

Kalak, Thomas. (2008). Thailand: Same same but different. Munich: Rupa Publishing.

Cornwel-Smith, Philip. (2005). Very Thai: Everyday Popular Culture. Bangkok: River Books.

Chare Phillips. (1996). Jewelry From Antiquity to the Present. Italy: Thames and Hudson.

Jean Robertson and Craig McDaniel. (2010). Themes of Contemporary Art Visual Art after 1980. New York Oxford: Oxford University Press.

Terry Smith. (2011). Contemporary Art World Currents. London: Laurence King Publishing.

W.Lindemann & FH Trier/Idar-Oberstein. (2011). Thinking jewellery on the way towards a theory of jewellery. Germany: Arnoldsche Art Publishers.

McCreight, T. (2004). Complete Metalsmith. Hong Kong: Brynmorgen Press, Inc.

บ้านจอมยุทธ. (2543). กำเนิดวัฒนธรรม. เข้าถึงเมื่อ 16 กันยายน 2557. เข้าถึงได้จาก https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/culture/01.html

Bangkok Path. 2557. ประวัติกรุงเทพ. เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฏาคม 2558. เข้าถึงได้จาก : https://www.bangkokpath.com

สุรินทร์ ยิ่งนึก. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). เอกลักษณ์...อัตลักษณ์... ความเหมือนและความต่างที่ต้องใช้ให้ถูกต้อง. เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2559. เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/450615

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2552). ครีเอทีฟไทยแลนด์: แนวทาง มาตรการกลไกขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย. เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เข้าถึงได้จาก https://www.creativethailand.org/th/about/about_cceo_p3.php

Swarovski Gemstones. (2016) Gemvisions Trend Directions 2016. เข้าถึงเมื่อ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. เข้าถึงได้จาก : https://www.swarovski-gemstones.com/trends/GemVisions16.en.html.