การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก: กรณีศึกษาเรือนจำกลางประจำ จังหวัดแห่งหนึ่ง

Main Article Content

อภิชาติ โกศล

บทคัดย่อ

บทนำ: จากแนวคิดการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังระบุว่าแม้บุคคลนั้นจะเป็นผู้กระทำความผิดและถูกจำกัดเสรีภาพอีกทั้งยังเป็นบุคคลที่เป็นกลุ่มเพศทางเลือกก็มิอาจถูกกระทำการใด ๆ อันเป็นการลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ลงได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกในเรือนจำกลางประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง กำหนดคุณสมบัติเป็นผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก  และ 2) กลุ่มเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในเรือนจำกลางประจำจังหวัด เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแนวคำถามการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย: พบว่า การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังในผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกในเรือนจำกลางประจำจังหวัด ยังไม่เป็นไปตามหลักการสากลที่ต้องยึดถือปฏิบัติให้ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของผู้ต้องขัง เริ่มตั้งแต่กระบวนการการระบุอัตลักษณ์ทางเพศ การตรวจค้นร่างกาย การจัดสถานที่คุมขัง รวมถึงการคำนึงถึงถึงความจำเป็นพิเศษอื่นๆ สรุป: การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกในประเทศไทยควรจะมีบทบัญญัติเฉพาะเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิ ในแต่ละขั้นตอนที่สำคัญที่ใช้ปฏิบัติติต่อผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือกเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังในเรือนจำเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน

Article Details

How to Cite
โกศล อ. (2025). การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังกลุ่มเพศทางเลือก: กรณีศึกษาเรือนจำกลางประจำ จังหวัดแห่งหนึ่ง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 116–129. https://doi.org/10.14456/issc.2024.86
บท
บทความวิจัย

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสร็ภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2558). บทสรุปสำหรับผู้บริหารเกี่ยวกับแผนสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2557 - 2561. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

กรมราชทัณฑ์. (2558). คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้ต้องขัง. สำนักพิมพ์ส่วนส่งเสริมการศึกษา สำนักพัฒนาทฤตินิสัยรมราชทัณฑ์.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2550). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human

Rights. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2551). หลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศใน

ประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2543). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. สำนักพิมพ์วิญญูชน.

Butcher, T. (2023). Human Rights, Trans Rights, Prisoners’ Rights: An International Comparison. Northwestern

Journal of Law and Social Policy, 18(3), 43-73.

Carr. N., Mcalister. S., & Serisier. T. (2019). Out on the Inside: The Rights, Experiences and

Needs of LGBT People in Prison. Irich penal Reform Trust Journal. 14, 1-44.

Intatecha, S., Khamdee, L.,& Dilokwuthisit, P. (2021). The Development of a Management Model for LGBT

Inmates. ARU Research Journal, 8(3), 53-68.

Lazarski. C, K. (2018). John Locke's State of Nature and the Origins of Rights of man.

[On line]. Retrieve from https://www.researchgate.net/Christopher-Lazarski-3/John_Locke

Mill, J. S. (2001). On Liberty. Canada, Batoche book press.

Onthong, T. (2019). Prisoner’s Rights Protection: Study On LGBTI Prisoners. Graduated Law Journal, 12(3). 470-481.

Petmunee, T. (2019). A Comparative Prisoner Classification. Journal of Social Work, 24(1). 17-46.

Rousseau, J. J. (1762). The Social Contract. Connecticut, Yale University Press.

Survijit, U. (2023). Problem of Protecting the Rights of Prisoners of Persons with Sexual Diversity According

to Thai Law. [Master Thematic Paper, Graduate council of Dhurakij Pundit University]. Thailis.

Walter, R., Antojado, D., Maycock, M. & Bartel, L. (2024). LGBT people in prison in Australia and human

rights: A critical reflection. Alternative Law Journal, 0(0), 1-7.

Wiriyapaha,S. (2021). Protection of Prisoners’ Rights: A Study of Conjugal Visits for Lesbian, Gay, Bisexual,

Transgender, Queen and Intersex Prisoners. Graduated Law Journal, 14(3), 521-538.