การสังเคราะห์ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในประเทศไทย

Main Article Content

จิรศุภา ปล่องทอง
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ

บทคัดย่อ

บทนำ: การสังเคราะห์ภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทยนั้น วัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1) เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางด้านภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย และ 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร จำนวน 41 เรื่อง จากการศึกษาค้นคว้า รวบรวมเนื้อหางานวิจัย บทความวิจัย บทความวิชาการ และวิทยานิพนธ์ จากฐานข้อมูลโครงการ TDC หรือ Thai Digital Collection และฐานข้อมูลห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในระบบ OPAC หรือ Online Public Access Catalog โดยคัดเลือกงานวิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2545-2561 ผลการวิจัย: พบว่าผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย มีทั้งสิ้น 41 เรื่อง สรุปได้ 11 หมวดหมู่ ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาผ้าทอลาวครั่ง 2) ภูมิปัญญาด้านภาษาลาวครั่ง 3) การพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาลาวครั่ง 4) ภูมิปัญญาด้านโหราศาสตร์ 5) ประเพณีขึ้นหอเจ้านาย 6) ความเชื่อและพิธีกรรมการนับถือผี 7) ภูมิปัญญาด้านเรือนลาวครั่ง 8) ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม 9) วิถีชีวิตและความเป็นมาของชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย 10) ภูมิปัญญาด้านอาหารลาวครั่ง และ 11) อัตลักษณ์และการรักษาอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาวครั่ง ภูมิปัญญาที่มีผู้ศึกษามากที่สุด คือ ภูมิปัญญาผ้าทอลาวครั่ง รองลงมา คือ การพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญาลาวครั่ง และภูมิปัญญาภาษาลาวครั่ง ผู้วิจัยนำข้อมูลมาสังเคราะห์ พบประเด็นที่คล้ายคลึงกันในการดำเนินการวิจัย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย 2) เนื้อหาตามขอบเขตงานวิจัย 3) วิธีดำเนินการวิจัย 4) ผลการวิจัย และ 5) การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

Article Details

How to Cite
ปล่องทอง จ., & จินดาวัฒนภูมิ ส. (2025). การสังเคราะห์ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 226–241. https://doi.org/10.14456/issc.2025.93
บท
บทความวิจัย

References

ชุตินันท์ คำวิชัย. (2556). อัตลักษณ์และการรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง : กรณีศึกษา บ้านกงลาดและบ้านทุ่งผักกูด ตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2555). บทปริทัศน์หนังสือการสังเคราะห์งานวิจัยและการวิเคราะห์อภิมาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(1), 278-280.

ฑิฆัมพร เด็ดขุนทด. (2556), การศึกษาวิถีชีวิตชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงการใชประโยชนที่ดิน จังหวัดสมุทรสงคราม[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร

นันทพร ศรีสุทธะ (2544). วิถีชีวิตชุมชนกับการเกิดโรคเบาหวาน กรณีศึกษาชุมชนบ้านจัว ตำบลสมัย อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นันทสาร สีสลับ และคณะ. (2540). ภูมิปัญญาไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 23 (พิมพค์ร้ังที่ 2). มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.

นิยพรรณ วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม : แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมา และสาระสำคัญด้านมานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม ฉบับสมบูรณ์. โรงพิมพ์ บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด

นุชลี คลายวนเพ็ญ. (2553). การนําภูมิปญญาทองถิ่นมาใชในการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขต

พระนคร. [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พระสยาม กาฬภักดี (อหึสโก). (2549). ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวลาวครั่งบ้านบ่อกรุและบ้านทุ่งกฐิน ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2554). ปัจจัยที่ทรงอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

มยุรี ถาวรพัฒน์ และเอมอร เชาว์สวน.(2548). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ลาวครั่ง. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). การสังเคราะหงานวิจัยและประเมินเชงผสมผสานวิธี. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศศิธร ธรรมโสภิต. (2553). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปญญาทองถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตคลองสาน สังกัดกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคิน รพีพัฒน์. (2551). วัฒนธรรมคือความหมาย : ทฤษฎีและวิธีการของตลิฟฟอร์ด เกียร์ซ. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

อัญชลี สิงห์น้อย วงศ์วัฒนา. (2559). ชาติพันธุ์ “ไทครั่ง” ภูมิภาคเหนือตอนล่าง:อัตลักษณ์และความหลากหลาย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.