การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อทักษะการจัดการความเครียด ในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

Main Article Content

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์
บรรจง เจนจัดการ
กัลยพัทย์ นิยมวิทย์
เขมณัฏฐ์ ศรีพรหมภัทร์
ณัฐฐพัชร์ จันทร์ฉาย
สิรินทร เลิศคูพินิจ
ปิยะพงศ์ กู้พงศ์พันธ์

บทคัดย่อ

บทนำ: นักศึกษาพยาบาลขึ้นฝึกวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชจะมีความเครียดระดับสูง วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อสร้างรูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อทักษะการจัดการความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์  ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นแบบกึ่งทดลองโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย ระยะที่ 2 สร้างและทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ จำนวน  15  คน ระยะที่ 3 นำโปรแกรมไปใช้และประเมินผลใช้รูปแบบการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ       รำไพพรรณี  ภาคการศึกษาที่ 2/2566 จำนวน 50 คน เป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  แบบทดสอบความรู้ แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบวัดพฤติกรรมของทักษะการจัดการความเครียด คุณภาพเครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบ เนื้อหา ความตรงตามโครงสร้างและตรวจสอบความเที่ยง (Reliability) ของแบบวัดใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค (Cronbach’s alpha co-efficient) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราคเท่ากับ 0.82, 0.82 และ 0.84 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (paired-t-test)  ผลการวิจัย: 1) รูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองที่พัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura(1997) ประกอบด้วย การส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง การได้เห็นตัวแบบหรือประสบการณ์จากผู้อื่น การสร้างสัมพันธภาพ เทคนิคกระบวนการกลุ่ม การพูดชักจูงโน้มน้าวด้วยคำพูด การให้กำลังใจ การสร้างแรงจูงใจ การฝึก การให้ความรู้ เรื่องโรคจิตเภท อารมณ์สองขั้ว สารเสพติด สมองติดสารเสพติด  การเสริมแรงโดยการชื่นชม ให้รางวัล และนำไปใช้กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์  8 ครั้ง ละ 3 ชั่วโมง รวมระยะเวลา เข้าโปรแกรม  8  ครั้ง   24 ชั่วโมง  2. ) ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรม  พบว่า นักศึกษาพยาบาลศาสตร์กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 นักศึกษาพยาบาลศาสตร์กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของทักษะการจัดการความเครียด หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคจิตเภท อารมณ์สองขั้ว สารเสพติด หลังการฝึกอบรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  สรุป: โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองทำให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะการจัดการความเครียดได้ดีขึ้น

Article Details

How to Cite
หงษ์กิตติยานนท์ ฐ., เจนจัดการ บ., นิยมวิทย์ ก., ศรีพรหมภัทร์ เ., จันทร์ฉาย ณ., เลิศคูพินิจ ส., & กู้พงศ์พันธ์ ป. (2025). การพัฒนารูปแบบการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อทักษะการจัดการความเครียด ในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ . วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 199–211. https://doi.org/10.14456/issc.2025.91
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). กรมสุขภาพจิต: คู่มือคลายเครียด (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร.

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์. (2566). โปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน .วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 41(2), 78-86.

ชุทิมา อนันตชัย. (20, มิถุนายน 2566 ). การศึกษาสาเหตุ ระดับความเครียด และการเผชิญความเครียดในการฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล . http://www.vu.ac.th/Joural/54feb-54jun/journal03.pdf

รติกร ลีละยุทธสุนธร. ( 2559 ). ความสัมพันธ์ ระหว่างตัว ก่อให้เกิดความเครียดในงานความเครียด

วิธีการจัดการกับความเครียดและวิธีการจัดการความเครียด โดยมีความอดทนต่อแรงกดดันความต้องการสำเร็จและความต้องการสัมพันธ์เป็นตัวแปรกำกับ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธัญญา ประสิทธิ์ศาสตร์ .(2561). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในตอ่ทักษะการจัดการความเครียด

ของนักศึกษาพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วันเพ็ญ หวังวิวัฒน์เจริญ และสาระ มุขดี. (2559). ความเครียดของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2539, 41(2) : 78-86.

วิไลพร ขำวงษ์ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับสาเหตุของความเครียด และการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์, 10(1),78-87.

สุจิตรา กฤติยาวรรณ. (2561, 25 พฤษภาคม). ความเครียดและการเผชิญความเครียดในการฝึกปฏิบัติรายวิชาการ พยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 3 นวัตกรรมที่พลิกโฉมสังคมโลก อุบลราชธานี.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy. The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., & Parson, M.A., (2011). Health promotion in nursing Practice (6 ed) . Pearson Education.

Schwarzer, R. (1992). Self-efficacy in the adoption and maintenance of health behaviors: Theoretical approaches and a new model. In R. Schwarzer (Ed.). Self-efficacy: Thought control of action. (pp. 217-242). Washington, DC: Hemisphere.

Selye, H., (1976). The Stress of Life (rev. edn.). McGraw-Hill.