การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน

Main Article Content

ณัชชา พัฒนะนุกิจ
พิสิทธิ์ โสภณพงศพัฒน์
ขวัญใจ จริยาทัศน์กร
รัชนี จันทร์เกษ
ณัฐวิโรจน์ มหายศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ระเบียบวิธีวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน คือ ผู้เข้าชมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 20 ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร การใช้บริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และความรอบรู้สุขภาพด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร มีค่าความเชื่อมั่น .923, .927 และ .927 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ผลการวิจัย: พบว่า 1. ผลการศึกษาการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรในงานมหกรรมฯ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.593) เมื่อพิจารณารายด้านอันดับแรก คือ การตลาดและการสื่อสาร/ออนไลน์ ส่วนผลการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกในงานมหกรรมฯ พบว่า ปัจจัยทางการตลาด ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.591) และความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.574) โดยอันดับแรก คือ การเข้าถึง  2. ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลของปัจจัยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร การใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก และความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน มีค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอล 2 ฟังก์ชัน โดยชุดตัวแปรปัจจัยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพร และปัจจัยการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สามารถอธิบายชุดตัวแปรความรอบรู้ด้านสุขภาพของปร

Article Details

How to Cite
พัฒนะนุกิจ ณ., โสภณพงศพัฒน์ พ., จริยาทัศน์กร ข., จันทร์เกษ ร., & มหายศ ณ. (2025). การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 8(1), 1–20. https://doi.org/10.14456/issc.2024.78
บท
บทความวิจัย

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2023, กุมภาพันธ์). สรุปรายงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 19. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. https://natherbexpo.dtam.moph.go.th › 2023/02

ขวัญใจ จริยาทัศน์กร และพสิษฐ์ โสภณพงศพัฒน์. (2017). การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลือกเช่าหอพักของผู้เช่าพักบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 48-62. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/110954/86851

ธงชัย สันติวงษ์. (2549). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. ประชุมช่าง.

ปราโมทย์ อนุสรณ์วิริยะกุล. (2024). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 29(2), 114-131. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/271987/184022

รัชนี จันทร์เกษ และคณะ. (2565). ความรอบรู้ทางสุขภาพและการแบ่งปันข้อมูลในการนำสมุนไพรดูแลสุขภาพตนเองจากโควิด-19 ทางสื่อสังคมออนไลน์ของประชากรไทย พ.ศ. 2565. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(3), 428-436. https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/14224/11479

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการพยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183-97. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nmdjournal/article/view/115970/178174

Panthu, S. & Sritong, C. (2019). The Influence of Brand Perception and Trust to the intention Consumer Behavior of Environmentally Friendly Products. [Unpublished master’s thesis]. Silpakorn University.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดสมัยใหม่. ธรรมสาร.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 9). ยงพลเทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2564). https://www.nationalhealth.or.th/index.php/en/node/2154

ดวงจันทร์ ครองยุติ, อนุชา เพียรชนะ และเผ่าไทย วงศ์เหลา. (2560). พฤติกรรมการใช้บริการแพทย์แผนไทยของประชาชนใน

สถานบริการสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 18-29. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/162500/117319

Andersen, R., & Aday, L. A. (1967). A Decade of Health Services: Social Survey Trends in Use and Expenditure.

University of Chicago Press.

iHotel Marketer. (2012, 1 สิงหาคม). 7P's ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ.

http://www.ihotelmarketer.com/index.php?option=com_k2&view=item&id=301:7ps-service-marketing-mix.

Dehghan, M. (2023). The relationship between use of complementary and alternative medicine and health literacy in chronically ill outpatient cases: A cross-sectional study in southeastern Iran. Public Health Education and Promotion, 11, Article 988388. https://doi.org/10.3389/fpubh.2023.988388

Khayru, R. K., & Issalillah, F. (2021). Study on consumer behavior and purchase of herbal medicine based on the marketing mix. Journal of Marketing and Business Research, 1(1), 1–14.

Inti, R. W., Haryanti, E., & Koesriwulandari. (2022). The effect of the marketing mix on the satisfaction of traditional herbal medicine consumers in Gresik. Asia Pacific Journal of Business Economics and Technology, 2(6), 38–44.

Ahmad Sharoni, S. K., Robani, S., & Zaini, S. A. (2019). Use of complementary and alternative medicine: Prevalence and health literacy among patients attending a health centre in Universiti Teknologi MARA Selangor. Health Scope, 1(1), 1–5. https://www.researchgate.net/publication/346778425

Ahmad Sharoni, S. K., Robani, S., & Zaini, S. A. (2019). Use of complementary and alternative medicine: Prevalence and health literacy among patients attending a health centre in Universiti Teknologi MARA Selangor. Faculty of Health Sciences, Universiti Teknologi MARA (UiTM). https://www.researchgate.net/publication/346778425

Ahmad Sharoni, S. K., Robani, S., & Zaini, S. A. (2019). Use of complementary and alternative medicine: Prevalence and health literacy among patients attending a health centre in Universiti Teknologi MARA Selangor. Faculty of Health Sciences, Universiti Teknologi MARA (UiTM). https://www.researchgate.net/publication/346778425

Sorensen, G., McLellan, D. L., Sabbath, E. L., & others. (2016). Integrating worksite health protection and health promotion: A conceptual model for intervention and research. Preventive Medicine, 91, 188–196. https://doi.org/10.1016/j.ypmed.2016.08.005

Qian, Z., & Wang, G. Y. (2023). Understanding health literacy from a traditional Chinese medicine perspective. Journal of Integrative Medicine, 21(3), 215–220.