มาตรการทางกฎหมายในการนำศพมาทำเป็นปุ๋ย: กรณีศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ และประโยชน์จากการนำศพมาทำเป็นปุ๋ย 2) ศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวข้องกับการนำศพมาทำเป็นปุ๋ย และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนากฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับการนำศพมนุษย์มาทำเป็นปุ๋ย โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า
การจัดการศพด้วยการนำศพมาทำเป็นปุ๋ย หรือการย่อยสลายตามธรรมชาติช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศได้อย่างมาก ซึ่งเป็นวิธีการจัดการศพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยรัฐวอชิงตันและรัฐโคโลราโดเป็นสองรัฐแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชนในการจัดการศพด้วยวิธีดังกล่าว แต่ประเทศไทยยังคงใช้วิธีการจัดการศพด้วยการฝังหรือการเผา ซึ่งเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และยังไม่มีการจัดการศพด้วยการย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงไม่มีกฎหมายที่รองรับการจัดการศพด้วยวิธีดังกล่าว
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยพบว่า ประเทศไทยควรพิจารณาทางเลือกในการจัดการศพด้วยการย่อยสลายตามธรรมชาติ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนถึงประโยชน์ของการจัดการศพด้วยวิธีนี้ รวมทั้งควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้รองรับการจัดการศพด้วยการย่อยสลายตามธรรมชาติอย่างครอบคลุมและชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). ชุดองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ. โฮโกะ เพรส.
กรมศิลปากร. (1 กันยายน 2566). ประเพณีทำศพ. https://finearts.go.th/chonburilibrary/view/6808-ประเพณีทำศพ
ไกรชาติ ตันตระการอาภา วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล และวิษณุพงค์ เกลี้ยงช่วย. (2559). บทบาทของประเทศไทยกับ COP21:การปรับตัวของภาคประชาสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 4(1), 109-124.https://so03.tci-thaijo.org/index.php/liberalartsjournal/article/view/95915/74893
ณัฐพล แก้วทอง และคณะ. (2563). ระบบเตือนภัยมลพิษทางอากาศสำหรับเทศบาลนครสงขลาเมืองอัจฉริยะโครงการ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานสภานโนบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.).
ทิพวรรณ ประภามณฑล และคณะ. (2554). ชุดความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศและหมอกควันในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไทยพีบีเอส. (28 กันยายน 2565). เตาเผาศพ? ก่อมลพิษ คุมค่าความทึบแสงปล่องควันไม่เกิน 7%.https://www.thaipbs.or.th/news/content/316866
ธัญภัค สังฆมานนท์. (28 กันยายน 2565.). สาเหตุและผลกระทบของมลพิษทางอากาศ. http://www.rmuti.ac.th/user/thanyaphak/Web%20EMR/Web%20IS%20Environmen%20gr.4/Mola2.html
นุสรา จริยะสกุลโรจน์. (15 สิงหาคม 2566). สังคมคาร์บอนต่ำ ลดโลกร้อนอย่างยั่งยืน.https://petromat.org/home/low-carbon-society/
บริษัท เฮลธ์ แอนด์ เอ็นไวเทค จำกัด (16 มกราคม 2566). สารมลพิษทางอากาศคืออะไร และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร?.https://healthenvi.com/how-air-pollution-affects-health/
บีบีซีนิวส์ไทย. (28 กันยายน 2565). วัดปรับตัวอย่างไรเมื่อต้องคุมมลพิษจากเตาเผาศพ.https://www.bbc.com/thai/thailand-61910063
บีบีซีนิวส์ไทย. (15 มกราคม 2566). นิวยอร์กอนุมัติการทำศพเป็น “ปุ๋ยมนุษย์”.https://www.bbc.com/thai/articles/cpd01rm4jglo
มนนภา เทพสุด. (2563). ภาวะโลกร้อน: สาเหตุผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 15 ประจำปี 2563. (น.2332-2341). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศุภนันท์ จิรโสภณ. (2563). การวิเคราะห์ลักษณะระยะยาวของมลพิษทางอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน. (30 มกราคม 2566). ปลูกป่าชายเลนคลายร้อนให้โลก https://dmcrth.dmcr.go.th/manpro/detail/11697/
สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2554). รู้รอบทิศ มลพิษทางอากาศ บทเรียน แนวคิด และการ จัดการ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด กชกร พับลิชชิง
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (30 มกราคม 2566).“ลดโลกร้อน” ด้วยตัวเรา สืบค้นเมื่อวันที่ จาก https://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/Publication/Knowledge/green%20the%20earth.pdf
Abigail Smith. (30 มกราคม 2566). ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและการจัดการ.https://www.unescap.org/sites/default/d8files/2023-05/%5BThai%5D%20Air%20pollution%20%20 in%20Asia%20and%20Pacific%20Policy%20Brief.pdf
Thiraphon Singlor. (1 กันยายน 2566). งานศพกับรอยเท้าความยั่งยืนของผู้ที่จากไป. https://www.sdgmove.com/2021/09/23/sdg-updates-alternative-ways-of-green-funerals/#:~:text=แนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม,ในการย่อยสลายศพ
Colorado General Assembly. (20 January 2024). Colorado Revised Statutes (C.R.S.).https://leg.colorado.gov/bills/sb21-006
Washington State Legislature. (2562). Revised Code of Washington (RCW). Retrieved on 15 January 2024 from https://app.leg.wa.gov/billsummary?BillNumber=5001&Year=2019&Initiative=false
World Health Organization. (n.d.). Air Pollution. Retrieved on 15 January 2023 from https://www.who.int/health-topics/air-pollution#tab=tab_1