การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี หลังวิกฤติ COVID-19 ของประเทศไทย

Main Article Content

สมชาย โตศุกลวรรณ์
ณรงค์ อนุพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งเน้นเพื่อประเมินระดับการปฏิบัติงานของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรีหลังวิกฤติ COVID-19 วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของวิสาหกิจชุมชน และพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 100 คน และเลือกกลุ่มต้นแบบที่พร้อมในการพัฒนากลยุทธ์ คือ วิสาหกิจชุมชนจันทราบุรี@ปากน้ำแหลมสิงห์ จำนวน 24 คน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก


ผลการวิจัยพบว่า


ระดับการปฏิบัติงานโดยรวมของวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับดี แต่ยังมีบางประเด็นที่ควรปรับปรุง เช่น การบริหารจัดการสวัสดิการสมาชิกและการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี การวิเคราะห์ SWOT ชี้ให้เห็นว่าจุดแข็งของวิสาหกิจชุมชนคือความสามารถในการปรับตัวและใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ จุดอ่อนคือการขาดแคลนความรู้ด้านการตลาดและการเข้าถึงทรัพยากร โอกาสคือการใช้ช่องทางออนไลน์ในการขยายตลาด ขณะที่อุปสรรคคือสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและการแข่งขันสูง กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุก (SO) ที่เน้นการขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) ที่เน้นการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีและการตลาดออนไลน์ กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO) ที่เน้นการเพิ่มทักษะและความรู้ให้กับสมาชิก และกลยุทธ์เชิงป้องกันตัว (WT) ที่เน้นการลดจุดอ่อนและเพิ่มศักยภาพในการรับมือกับความเสี่ยง การนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปปรับใช้สามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและเพิ่มศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนในการรับมือกับสภาวะหลังวิกฤติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
โตศุกลวรรณ์ ส., & อนุพันธ์ ณ. (2024). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรี หลังวิกฤติ COVID-19 ของประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(4), 1–14. https://doi.org/10.14456/issc.2024.58
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา บุญชัย. (2563, 2 มิถุนายน). วิกฤติโควิดกับจุดเปลี่ยนของชุมชนท้องถิ่น. https://thaipublica.org/2020/04/kritsada-boonchai-14/

ณัฐพล บัวเปลี่ยนสี,ปรีดาพร อารักษ์สมบูรณ์ และนิชชิชญา นราฐปนนท์. (2560). การพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 1(1), 43-49.

ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์. (2547). เศรษฐมิติ ทฤษฎีและการประยุกต์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2565, 8 กรกฎาคม). กรมส่งเสริมการเกษตรรายงานแสดงสถิติเปรียบเทียบจำนวนและสมาชิก วิสาหกิจชุมชนทั้งประเทศระหว่าง ปี 2563 ถึง ปี 2565. https://smce.doae.go.th/smce1/report/report_smce13.php?typeSmce=1&levelSearch=1&region=&province=&amphur=&yy=2563

สมชาย น้อยฉ่ำ และคณะ. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 130-139. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/117334/90095

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558, 8 กรกฎาคม). ข่าวสารภาครัฐ. http://www.sukhothai.go.th/mainredcross/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556,19 พฤศจิกายน). แผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ. http://www.nesdb.go.th /Default.aspx?tabid=395.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2556,19 พฤศจิกายน). วิสาหกิจชุมชนกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด. http://www.sme.go.th/Lists/ Editorlnput/DispF.spx

สำนักนโยบายและแผน กระทรวงมหาดไทย. (2559, 19 พฤศจิกายน). แผนยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2556-2561. https://www.google.co.th/webhp?sourceid=chromeinstant&ion=1&espv=2&ie=UTF-8#q

สุรัสวดี ราชกุลชัย. (2547). การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร (พิมพครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.