การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายสำหรับส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พงศา รวมทรัพย์
สมศักดิ์ ทองแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมสู่การสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายสำหรับรูปแบบการจำหน่ายในตลาดออนไลน์ ประชากรที่ใช้ 1. กลุ่มตัวอย่างสำหรับการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง จำนวน 3 คน   2. กลุ่มตัวอย่างสำหรับการตอบแบบสอบถาม โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) อายุ 18 – 60 ปี ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) บุคคลติดตามเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง จำนวน      50 คน และ 2) ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านศิลปะ, การถ่ายภาพ, การจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ สำหรับการคัดเลือกภาพถ่ายที่ใช้สำหรับส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 5 คน รวม 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แบบสัมภาษณ์ข้อมูลเบื้องต้นของวิสาหกิจชุมชนฯ 2. แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม และทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อภาพถ่ายที่ส่งผลในการเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบออนไลน์ และ 3.แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาพถ่ายที่ใช้สำหรับส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์


ผลการวิจัยพบว่า


อัตลักษณ์ของผ้าทอมือจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียงนั้น จะทอมาจากเส้นด้ายที่นำมาจากปกและแขนของเสื้อโปโล จุดเด่นของผ้าทอจะเป็นลายสก็อต และมีการจับคู่สีที่สวยงาม ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออนไลน์ของทางกลุ่มฯ ได้แก่  Facebook และ Shopee ประเภทของภาพถ่ายที่ส่งผลในการเลือกซื้อสินค้าในรูปแบบออนไลน์ คือ ภาพถ่ายสินค้าโดยใช้นายแบบ/นางแบบ และ ภาพมุมกว้าง เป็นรูปแบบของภาพถ่ายที่ใช้สำหรับส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบออนไลน์ ที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเลือกมากที่สุด

Article Details

How to Cite
รวมทรัพย์ พ., & ทองแก้ว ส. (2024). การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายสำหรับส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งเหียง ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(3), 1–13. https://doi.org/10.14456/issc.2024.39
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ กาญจนธานี. (2561). การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์ส่งเสริมการทำผลงานวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

จักกฤษณ์ กิตติทรัพย์เจริญ. (2560). ลักษณะของภาพถ่ายโฆษณาที่ส่งผลต่อทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อภาพถ่าย

โฆษณาขายสินค้าบนอินสตาแกรมกรณีศึกษา: กระเป๋าแฟชั่นที่ไม่ใช่สินค้าแบรนด์เนม. [การค้นคว้าอิสระ

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). อัตลักษณ์วัฒนธรรมละการเปลี่ยนแปลง. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2566, จาก https://wsc.soc.cmu.ac.th/womancenter/report_upload/23_Thesociologicalimagination.pdf

ชูเกียรติ อ่อนชื่น. (2555). การถ่ายภาพอัญมณีในงานโฆษณา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐกร สงคราม. (2557). การถ่ายภาพ : เทคนิคและการนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เธียรชัย อิศรเดช. (2552). อัตลักษณ์กับสื่อ : ตัวตนกับการสื่อสาร. นิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 13(1), 25-39.

พงศา รวมทรัพย์. (2551). ภาพถ่ายบุคคลของไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรพร คำใส. (2565). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านค้าของผู้บริโภค. [สารนิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). ค่าเฉลี่ยกับการแบ่งความหมาย: เรื่องง่าย ๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยการศึกษา, 18(3), 8-11.

Lnwgadget. (2564). 5 ไอเดียใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพบุคคลให้สวยโดดเด่น. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.lnwgadget.com/5-tips-using-wide-angle-lens-for-portraiture/