สมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 1 2) สร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชาย 39 คน และนักศึกษาหญิง 17 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชน อายุ 19-59 ปี ของสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสร้างเกณฑ์โดยใช้คะแนนที
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการทดสอบนักศึกษาเพศชาย ดัชนีมวลกาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.09 กก./ม.2 อยู่ในเกณฑ์ท้วมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.92 นักศึกษาเพศหญิง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.17 กก./ม.2 อยู่ในเกณฑ์สมส่วน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.97 นักศึกษาเพศชาย นั่งงอตัวไปข้างหน้า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.51 ซม. อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.08 นักศึกษาเพศหญิง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.79 ซม.อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.62 นักศึกษาเพศชาย แรงบีบมือ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.94 กก./น.น. อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.99 นักศึกษาเพศหญิง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.02 กก./น.น. อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.27 นักศึกษาเพศชาย ยืน - นั่ง บนเก้าอี้ 60 วินาที ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 59 ครั้ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 9.90 นักศึกษาเพศหญิง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 49 ครั้ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 10.14 และนักศึกษาเพศชาย ยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 298 ครั้ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 26.88 นักศึกษาเพศหญิง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 270 ครั้ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 20.05
2) ผลการวิเคราะห์การสร้างเกณฑ์ปกติ พบว่า การหาค่าเฉลี่ยด้วยการแปลงคะแนนจากคะแนนดิบ ของการทดสอบแต่ละรายการให้เป็นคะแนนที แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับดีมาก ระดับดี ระดับปานกลาง ระดับต่ำ และระดับต่ำมาก และได้เกณฑ์สมรรถภาพทางกายของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 เป็นไปตามวัตถุประสงค์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนอายุ 19 - 59 ปี. สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา. สำนักพิมพ์สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์จำกัด.
ดรุณวรรณ สุขสม. (2561). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ภูติจันทร์. (2547). วิทยาศาสตร์การกีฬา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
มาโนช บุตรเมือง. (2560). การประยุกต์หลักวิทยาศาสตร์การฝึกซ้อมกับกีฬาแบดมินตัน. SCG Sport Science Training Course#1. สำนักพิมพ์เอสซีจี.
รังสรรค์ อักษรชาติ อภิชัย มุสิกทอง จิรภัทร ตันติทวีกุล และ ประดิษฐ์ พยุงวงศ์. (2555). การศึกษาทางกายของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
รัชนี ขวัญบุญจัน. (2536). สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัด เพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัด เพื่อประเมินผลทางพลศึกษา. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพิตร สมาหิโต. (2549). การสร้างแบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับเด็กไทย อายุ 7 - 18 ปี. สำนักพิมพ์พี เอส ปริ้นท์.
Evaristo, S. et al. (2019). Muscular fitness and cardiorespiratory fitness are associated with health-related quality of life: Results from lamed physical activity study. Journal of Exercise Science & Fitness, 17, 55-56.
Werner W. K. Hoeger and Sharon A. Hoeger. (2011). Lifetime physical fitness and wellness: a personalized program. Wadsworth, Cengage Learning.