พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับทัศนคติที่มีต่อการสร้างรายได้บนเครือข่ายดิจิทัล ของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย: 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. เพื่อศึกษาทัศนคติที่ส่งผลต่อการสร้างรายได้บนเครือข่ายดิจิทัลของผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของตารางและบรรยายเชิงพรรรณา ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 – 69 ปี ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ แหล่งที่มาของรายได้มาจากตนเอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ส่วนมากพักอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ส่วนมากเปิดรับสื่อทาง ไลน์ เฟสบุ๊ค ติ๊กต็อก ในช่วงเวลาก่อน 8.00 น. วัตถุประสงค์ในการเปิดรับสื่อ คือ เพื่อเปิดรับข้อมูลข่าวสาร จำนวนครั้งในการเปิดรับสื่อคือ ต่อสัปดาห์ คือ 10 ครั้งขึ้นไป อุปกรณ์ที่ใช้งานในการเปิดรับสื่อคือโทรศัพท์มือถือ ทัศนคติที่มีต่อการสร้างรายได้บนเครือข่ายดิจิทัลของผู้สูงวัยในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านความรู้ความเข้าใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่วนมากมีความเห็นว่าเพื่อสื่อสารกับเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจในเรื่องราวเดียวกัน ด้านความรู้สึก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่วนมากมีความเห็นว่า การเปิดรับสื่อหลายช่องทางจะทำให้เป็น การเปิดโอกาสในการสร้างรายได้และด้านพฤติกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งส่วนมากมีความเห็นว่า มีพฤติกรรมการวางแผนร่วมกับเพื่อนๆ หรือขอ คำแนะนำจากผู้มีรายได้สูงเพื่อเตรียมสร้างรายได้บน เครือข่ายดิจิทัล ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมว่าการเปิดรับสื่อหลายช่องทาง เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ค เป็นการเปิดโอกาสที่สำคัญอีกทางในการทำให้คนรู้จักและสามารถสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคตได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2540). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2540). การศึกษาสื่อสารมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory) : แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การสร้างรายได้ในยุคสมัยใหม่ สำหรับผู้สูงอายุ. (2566, 10 ตุลาคม ). การสร้างรายได้ในยุคสมัยใหม่. https://www.depa.or.th/en/article-view/making-modern-for-elderly.
ชิสา โชติลดาคีติกา. (2559). ศึกษางานวิจัยเรื่อง ปัจจัยด้านทัศนคติและการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Marketing) ที่มีผลต่อการ ตัดสินใจซื้อสินค้าแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Products) ผ่านช่องทางออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชานนท์ ศิริธร, วิฏราธร จิรประวัติ. (2554). การเปิดรับสื่อและการยอมรับนวัตกรรมของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และ เจเนอเรชั่นวาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เตือนใจ ทองคำ. (2549). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในอำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภัทรา เรืองสวัสดิ์. (2553). รูปแบบการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของคนวัยทำงานใน เขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภัทรา สุขะสุคนธ์ และคณะ. (2564). แนวทางการสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 55-76.
ภาณุ อดกลั้น. (2551, 4 มีนาคม). ทฤษฎีการสูงอายุ. http://www.bcnu.ac.th/bcnu.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และมินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เมตตา ดีเจริญ, บุษบาบรรณ ไชยศริ และจิณณพัต ตั้งดวงมานิตย์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและภาพลักษณ ที่มีต่อมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจััยรำไพพรรณีี, 16(3), 65-89.
ยรรยงค์ มณีวงษ์. (2554, 10 กุมภาพันธ์). ภาวะสูงอายุ. http://sasijommie. blogspot.com /2010/09/blog-post.html.
เล็ก สมบัติ และคณะ. (2554). ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณประโยชน์กับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจใน ประเทศไทย. สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงาน ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
วิโรจน์ ทองชูใจ. (2563). การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์และพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชันซีในเขตกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมมาตร คําชื่นสิน. (2539). การเปิดรับและความต้องการรายการโทรทัศน์ของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สร้อยตระกูล (ตัวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). เอกสารการนิเทศการใช้แหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนและชุมชน.
คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนประชากรผู้สูงอายุ. สืบค้นวันที่ 15 มกราคม 2565. จาก http://www.nso.go.th/sites/.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2552, 15 มกราคม). รายงานผลการประชุมสมัชชา ผู้สูงอายุระดับชาติ ปี 2552 เรื่อง "การดูแลผู้สูงอายุ". กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
สิญาทิพย์ เพี้ยนภักตร์ และสุดถนอม รอดสว่าง. (2557). การเปิดรับสื่อ การจดจำข่าวสาร และการตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประชาชนในเขต กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุชา จันทร์เอม. (2544). จิตวิทยาพัฒนาการ.ไทยวัฒนาพานิช.
สุทธยา สมสุข. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารปาริชาตมหาวิทยาลัยทักษิณ,
(1), 62-77.
Atkin, Charles K. (1973). Anticipated communication and mass media information seeking public opinion quarterly. Free Press. Assa.
Ebersole, P., & Hess, P. (1990). Toward Healthy aging. Human need and nursing response.
Mosby - Year back. Eliopoulos
Eliopoulos, C. (1995). Manual of Gerontological Nursing.St. Louis: Mosby ... (1995). “Spatial mobility: concepts and methodology”. Chaire Quetelet.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. Free Press.
Kossuth, P.M. and Bengtson, V. (1988). Sociological Theories of Ageing : Current Perspectives and Future. Directions, in Birren, J.E. and Bengtson, V.L. Eds.
Samuel L. Becker. (1978). Campaign '76 Communication Studies of the Presidential. Campaign. Communication Monographs, 45(4). 34-46.