การต่อรองทางวัฒนธรรมของเกลือสินเธาว์เมืองโคราช

Main Article Content

ธีร์ คันโททอง
วีระยุทธ ทรัพย์ประเสริฐ
หทัยกนก กวีกิจสุภัค
เชาว์ฤทธิ์ ศิลาดำ
ปรเมศวร์ มะละสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ การศึกษาการต่องรองทางวัฒนธรรมของเกลือสินเธาว์ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องการปรับตัวและการเล่าเรื่องผ่านผลงานสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม เพื่อการธำรงรักษาเกลือสินเธาว์ จังหวัดนครราชสีมา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเก็บข้อมูลในพื้นที่ชุมชนจำนวน 4 ชุมชน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) กับผู้ผลิตเกลือ ผู้นำชุมชน ครู และชาวบ้าน รวมจำนวน 12 คน


ผลวิจัยพบว่า


1) คนหุงเกลือน้อยลง ซึ่งแต่ก่อนจะมีการทำเกลือด้วยวิธีต้มเกลือหรือหุงเกลือแบบโบราณนี้กันเป็นจำนวนมากหลายครัวเรือน แต่ปัจจุบันกลับเหลือเพียงไม่กี่ครัวเรือน และส่วนคนวัยรุ่นยังไม่ค่อยสนใจ


2) การหุงเกลือจะทำได้ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี แต่ถ้ามีฝนตกก็จะสิ้นสุดการหุงเกลือในปีนั้นทันที


3) การหุงเกลือจะใช้ไม้และน้ำเป็นจำนวนมาก และด้วยสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เปลี่ยนไปทำให้ชาวบ้านจึงหาไม้และน้ำลำบากมากขึ้น คนหุงเกลือสินเธาว์จึงก็ค่อย ๆ ลดจำนวนลง และด้านการต่อรองทางวัฒนธรรมของเกลือสินเธาว์ พบว่า 1) คนรุ่นใหม่ยังไม่สนใจสานต่อวัฒนธรรมเกลือสินเธาว์ ด้วยกระบวนการหุงเกลือมีความลำบากทั้งเหนื่อยและร้อน ต้องใช้ความอดทนสูง 2) กระบวนการหุงเกลือนั้นจะต้องมีการใช้ทรัพยากรทั้งน้ำและไม้จำนวนมาก เมื่อป่าไม้หายากขึ้นการตัดไม้จึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม และเมื่อถึงฤดูการทำนา น้ำฝนจะซะล้างเอาความเค็มนั้นกระจายไปตามท้องนาทำให้นาได้ผลผลิตไม่ดี 3) การสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐเพื่อให้มีคนหุงเกลือมากขึ้นก็อาจจะส่งผลกระทบกับเกษตรกรส่วนใหญ่ได้


4) เกลือสินเธาว์ที่ได้จากการหุงเกลือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นจะไม่มีไอโอดีนแต่มีคุณประโยชน์มาก แต่กระบวนการผลิตยังไม่ได้มาตรฐานจึงทำให้เกลือสินเธาว์ได้รับความนิยมลดน้อยลง


5) เกลือสินเธาว์ได้สร้างวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การหุงเกลือสินเธาว์แบบภูมิปัญญาชาวบ้านจึงควรที่จะได้รับการอนุรักษ์และธำรงรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังต่อไป

Article Details

How to Cite
คันโททอง ธ., ทรัพย์ประเสริฐ ว., กวีกิจสุภัค ห., ศิลาดำ เ., & มะละสาร ป. (2023). การต่อรองทางวัฒนธรรมของเกลือสินเธาว์เมืองโคราช. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(4), 145–160. https://doi.org/10.14456/issc.2023.69
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2553, 11 มีนาคม). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์. http://www.m-culture.go.th/about.php?sub_id=1037.

จักรมนตรี ชนะพันธ์. (2564, 11 มีนาคม). เกลือสินเธาว์อีสาน : ลมหายใจของอุตสาหกรรมครัวเรือน. https://www.silpa-mag.com/culture/article_6496.

จารุวรรณ พรมวัง. (2536). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมบางประการของชาวไทลื้อ: กรณีศึกษาบ้านทุ่งมอก อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ เส็งประชา. (2538). มนุษย์กับสังคม. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ดำรงค์ ฐานดี. (ม.ป.ป., 11 มีนาคม). ความรู้เรื่องสังคมและวัฒนธรรม. http://www3.ru.ac.th/korea/article1/article11.pdf.

เนตรนภา รัตนโพธานันท์. (2557). ภูมิปัญญาการผลิตเกลือในแอ่งดินโคราช. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 9(1), 13-20.

ผ่องพันธ์ มณีรัตน์. (2521). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2563, 25 มกราคม). คู่มือ การผลิตและควบคุมคุณภาพ เกลือบริโภคเสริมไอโอดีน. https://food.fda.moph.go.th/media.php?id=462091027780608000&name=M_Salt.pdf.

สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิอำนาจและการจัดการทรัพยากร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)

อมฤต หมวดทอง. (2558). เกลือ และประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานชุมชนในอีสาน. วารสารวิชาการประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(1), 165-176.

อมรา พงศาพิชญ์. (2540). ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการพัฒนา : มุมมองทางมานุษยวิทยา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Arm Chaimala. (2559, 19 มีนาคม). ดินเค็มกับวิถีชีวิตคนอีสาน. http://a272-7.blogspot.com/2016/04/blog-post.html.

OKMD. (2558, 10 สิงหาคม). คู่มือประกอบนิทรรศการ “ข้าว เกลือ โลหะ” สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. https://repository.museumsiam.org/bitstream/handle/6622252777/303/NDMI.