การสื่อสารอัตลักษณ์ของเจ้าภาพจัดการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนานาชาติ ผ่านตราสัญลักษณ์การแข่งขัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารอัตลักษณ์ของเจ้าภาพจัดการแข่งขันบาสเกตบอลระดับนานาชาติผ่านตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ทั้งที่จัดในต่างประเทศและจัดในประเทศไทย โดยศึกษาตราสัญลักษณ์การแข่งขันทั้งระดับโลกและทวีปทั้งสิ้น 93 ชิ้น ประกอบด้วย การแข่งขันที่จัดในต่างประเทศ 82 ชิ้น และการแข่งขันที่จัดในประเทศไทย 11 ชิ้นมาวิเคราะห์องค์ประกอบตามแนวคิดของ วีรพล เจียมวิสุทธ์ (2560) โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในฐานะผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์การแข่งขันที่จัดขึ้นในประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่า
ตราสัญลักษณ์ของการแข่งขันที่จัดขึ้นในต่างประเทศ ปรากฏการสื่อสาร 4 ลักษณะ คือ 1.การสื่อสารอัตลักษณ์ด้านภูมิศาสตร์และทรัพยกรธรรมชาติ ด้วยการใช้ภาพแผนที่ ภูเขา ดอกไม้ 2.การสื่อสารอัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ด้วยการใช้โบราณสถานหรือสถานที่สำคัญ สื่อสารตำนานและคติความเชื่อผ่านการใช้สีและสัญลักษณ์ที่ปรากฎบนธงชาติของประเทศเจ้าภาพ 3.การสื่อสารอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ด้วยการใช้ลวดลาย ตัวอักษร ที่เป็นอัตลักษณ์ของประเทศ 4.การสื่อสารที่ผสมผสานรูปเรขาคณิตกับสัญลักษณ์ของกีฬาบาสเกตบอล เป็นการใช้องค์ประกอบศิลป์ต่าง ๆ เช่น เส้น รูปร่าง มาผสมผสานกับสัญลักษณ์ของกีฬาบาสเกตบอล เช่น ลูกบาสเกตบอล ห่วงและแป้น ถ้วยรางวัล และนักกีฬา มีข้อสังเกตว่าการสื่อสารลักษณะนี้มักพบในการแข่งขันที่จัดขึ้นในทวีปยุโรปซึ่งใช้การจัดในลักษณะเจ้าภาพร่วมหลายประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่ามักมีการใช้สีของธงชาติที่สะท้อนคติความเชื่อผสมผสานอยู่ในการสื่อสารลักษณะต่าง ๆ ด้วย ในขณะที่การแข่งขันที่จัดขึ้นในประเทศไทยปรากฏการสื่อสารเพียง 3 ลักษณะ โดยไม่ปรากฏการสื่อสารอัตลักษณ์ด้านภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติและนำเสนออัตลักษณ์ของไทยภาคกลางมากกว่ากว่าอัตลักษณ์ในท้องถิ่น เนื่องสถานที่จัดมักอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจึงเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมกระแสหลัก ดังนั้นหากต้องการส่งเสริมการใช้ทุนทางวัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และอำนาจอ่อน จึงควรขยายการแข่งขันไปสู่พื้นที่อื่นๆ หรืออาจหยิบยกวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นอัตลักษณ์ของชาติมาใช้สื่อสารผ่านตราสัญลักษณ์การแข่งขันให้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566, 29 กรกฎาคม). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566-2570). 2566, จาก https://www.sat.or.th/wp-content/uploads/2021/11.
ชนกภรณ์ นรากร. (2548). วิวัฒนาการการสักและวัฒนธรรมมวลชนกับการสักรอยศิลปะบนเรือนร่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Dhurakij Pundit University Intellectual Repository. https://libdoc.dpu.ac.th/thesis/121333.pdf
ชันยนันต์ สมถวิลผ่องใส, จีรพรรณ์ จันทร์วิเชียร, วรรณธนพล หิรัญบูรณะ, ภาดา วงศ์อุไร, ไชยอนันต์ ตรีไพบูลย์, & ทวีศักดิ์ แสงเงิน. (2565). การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบตราสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 465–476.
ผกาพันธ์ อินต๊ะแก้ว. (2562). ความเชื่อผ่านการใช้อุปลักษณ์ในตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยไทย : กรณีศึกษาเฉพาะสัญลักษณ์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค าแหง, 2(2), 35–47.
มูลนิธิสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป., 29 กรกฎาคม ). พัฒนาการของลายไทย-ลายกระหนก โดยลำดับยุคสมัย ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 38. https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=38&chap=1&page=t38-1-infodetail02.html
วีรพล เจียมวิสุทธิ์. (2560). สัญญะกับการสื่อสารอัตลักษณ์ในตราเครื่องหมายสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(1), 2077–2092.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2565). 5 อาวุธทางวัฒนธรรมขยายอำนาจ SOFT POWER. The Knowledge, 22, 10–15. https://www.okmd.or.th/upload/pdf/2565/PDF/the_knowledge_vol22.pdf
สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร. (2564, 29 กรกฎาคม). องค์ความรู้จากครูช่างนายอมร ศรีพจนารถ : ลวดลายของชาติไทย. https://www.finearts.go.th/storage/contents/2021/04/detail_file/
MPchmInFQSuCt2938hOSFPHEmzjOjYO0DwT97vjL.pdf
ABC Championship for Women. (2023, 11 July). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=2001_ABC_Championship_for_Women&oldid=1164864552
FIBA Under-19 World Championship for Women - Wikipedia. (n.d.,1 July). https://en.wikipedia.org/wiki/2009_FIBA_Under-19_World_Championship_for_Women
FIBA Asia Under-18 Championship for Women. (2023, 1 July). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=2010_FIBA_Asia_Under-18_Championship_for_Women&oldid=1139197420
FIBA Asia Championship for Women. (2023, 1 July). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=2013_FIBA_Asia_Championship_for_Women&oldid=1139239406
SEABA Cup. (2023, 1 July). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=2016_SEABA_Cup&oldid=1139245108
FIBA Women’s Asia Cup. (2023, 1 July). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=2017_FIBA_Women%27s_Asia_Cup&oldid=1173741354
FIBA Asia Champions Cup. (2023, 1 July). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=2018_FIBA_Asia_Champions_Cup&oldid=1173244712
ADIR, V., PASCU, N. E., & ADIR, G. (2019). The Identity of Sport Events Using Logo Design. Journal of Industrial Design & Engineering Graphics, 14(1), 211–214.
AfroBasket Women 2015. (2023, 1 July ). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=AfroBasket_Women_2015&oldid=1173744527
Cingiene, V., Damijonaitis, M., & Komskiene, D. (2014). Soft Power Index Extension: The Case of the Influence of Lithuanian Basketball. Transformations in Business and Economics, 13(2), 462–482.
EuroBasket 2001. (2023, July 1). Wikipedia. https://en.wikipedia.org/w/index.php?title=EuroBasket_2001&oldid=1173692810
EuroBasket 2013 Corporate Identity | Zadrga. (n.d., 1 July). http://www.zadrga.com/project/fiba-europe-eurobasket-2013-ci/
Ferreira, L. B., Giraldi, J. de M. E., Maheshwari, V., & Oliveira, J. H. C. de. (2022). Impacts of host city image in the country destination branding in sport mega-event context: exploring cognitive and affective image dimensions. International Journal of Event and Festival Management, 13(4), 486–505. https://doi.org/10.1108/IJEFM-10-2021-0080
FIBA - Logo unveiled for FIBA Asia Championship for Women - FIBA.basketball. (n.d. 1 July). https://www.fiba.basketball/news/FIBA-Logo-unveiled-for-FIBA-Asia-Championship-for-Women
FIBA Asia U18 Championship for Women 2016 - FIBA.basketball. (n.d. 1 July). https://www.fiba.basketball/asia/u18women/2016
FIBA Basketball World Cup 2019 logo unveiled - FIBA Basketball World Cup 2019 - FIBA.basketball. (n.d., 1 July). https://www.fiba.basketball/basketballworldcup/2019/news/fiba-basketball-world-cup-2019-logo-unveiled
FIBA U18 Asian Championship logo unveiled - FIBA.basketball. (n.d., 1 July). https://www.fiba.basketball/news/fiba-under-18-asian-championship-logo-unveiled
FIBA Women’s AfroBasket 2021 logo unveiled - FIBA Women’s AfroBasket 2021 - FIBA.basketball. (n.d. 1 July). https://www.fiba.basketball/womensafrobasket/2021/news/fiba-women%E2%80%99s-afrobasket-2021-logo-unveiled
FIBA Women’s Asia Cup Division B 2023 - FIBA.basketball. (n.d., 1 July). https://www.fiba.basketball/womensasiacup/2023/divisionb
Mhanna, R., Blake, A., & Jones, I. (2019). Spreading tourists around host countries of mega sport events: A strategy to overcome overtourism in host cities. Worldwide Hospitality & Tourism Themes, 11(5), 611–626. https://doi.org/10.1108/WHATT-06-2019-0040
Mitchell, M., Edwards, D., & Marcis, J. (2021). From Strategic Goal to Reality: The Development of the Myrtle Beach Invitational Basketball Tournament. Coastal Business Journal, 18(1), 39–58.
Næss, H. E. (2023). A figurational approach to soft power and sport events. The case of the FIFA World Cup Qatar 2022TM. Frontiers in Sports and Active Living, 5. https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fspor.2023.1142878
PR N°1 - FIBA Basketball World Cup officially launched in Madrid - FIBA Basketball World Cup 2014 - FIBA.basketball. (n.d., 1 July). https://www.fiba.basketball/basketballworldcup/2014/news/PR-N-1-FIBA-Basketball-World-Cup-officially-launche
Trotier, F. (2021). Indonesia’s Position in Asia: Increasing Soft Power and Connectivity through the 2018 Asian Games. TRaNS: Trans-Regional & National Studies of Southeast Asia, 9(1), 81–97. https://doi.org/10.1017/trn.2020.12
“War Elephant” revealed as concept for FIBA Asia Champions Cup 2019 design - FIBA Asia Champions Cup 2019 - FIBA.basketball. (n.d.,1 July ). https://www.fiba.basketball/asiachampionscup/2019/news/war-elephant-revealed-as-concept-for-fiba-asia-champions-cup-2019-design