อิทธิพลของการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐต่อ คุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของนโยบายการบัญชีภาครัฐต่อคุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จำนวน 258 แห่ง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1973) ในการคำนวณเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1)สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Divination: SD) 2) สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐโดยรวม มีอิทธิพลเชิงบวกกับคุณภาพรายงานการเงินด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05
2) นโยบายการบัญชีภาครัฐโดยรวม มีอิทธิพลเชิงบวกกับคุณภาพรายงานการเงินด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ซักซ้อมแนวทางในการปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. https://www.nakhonmaesotcity.go.th/web/images/agencies_file_document/F00078.pdf
กระทรวงการคลัง. (2561). มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561.https://sarabanlaw.cgd.go.th/easinetimage/inetdoc?id=show_CGD.A.23142_2_BCS_2_pdf
กฤชาภรณ์ อนุพันธ์. (2560). คุณภาพรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในมุมมองของ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินส่วนภูมิภาค. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(7), 51-64.
จิตติมา ขำดำ. (2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.
จิรภัทร์ มั่นคง. (2561). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการและพนักงานการเงินและบัญชีกรมการเงินทหารบกที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพข้อมูลทางการเงิน. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทักษิณา อังค์ยศ. (2559). ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานงบการเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย, 22(1), 119-133.
นิศาชล หวานเปราะ. (2557). หลักธรรมาภิบาลและความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เบญญาภา ยืนยง. (2560). สมรรถนะของนักบัญชีและมาตรฐานการจัดทำบัญชีที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานในราชการ. คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พรปวีณ์ สายพรหม. (2558). ปัจจัยด้านความรู้ความสามารถของข้าราชการส่งผลต่อลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงิน ของสำนักการคลังและงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน.
https://www.tfac.or.th/upload/9414/IhJcrKfW69.pdf
อาทิตย์ โสภา. (2564). ผลกระทบของสมรรถนะทางด้านบัญชีขององค์กรที่มีต่อคุณภาพการจัดทำงบการเงินของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยนครพนม
Henny N. Tambingon and Author (2018). Determinant Factors Influencing the Quality of Financial Reporting Local Government in Indonesia. Padjadjaran Bandung-Indonesia Lecture Universitas Negeri Manado-Indonesia
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). Harper and Row Publication.