มุมมองและการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดจันทบุรีต่อความเสี่ยงวิกฤตแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ต่อธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ 3) ศึกษากลยุทธ์กลยุทธ์การปรับตัวของที่พักแรมต่อความเสี่ยงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ใน 5 ระยะ และเปรียบเทียบกลยุทธ์ที่สำคัญก่อนและหลังการแพร่ระบาด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการหรือผู้ประกอบการโรงแรม จำนวน 15 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์และแยกความหมายตามกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการงานวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 เป็นการเกิดภาวะวิกฤติที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจโรงแรม และก่อให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับโรงแรมขนาดเล็ก ผลการวิจัยได้แนวทางปฏิบัติในการจัดการของโรงแรมในช่วงต่าง ๆ ของวิกฤตดังนี้
1) ในระยะเริ่มต้นและระยะฉุกเฉินธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กทำให้ไม่มีการวางแผนกลยุทธ์การจัดการหรือการตอบสนองภาวะวิกฤตเนื่องจากยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ชัดเจน รายได้ลดลง ธุรกิจใช้กลยุทธ์ตั้งรับและการอยู่รอด รัฐบาลมีบทบาทสำคัญด้านการกระตุ้นอุปสงค์และมาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ
2) ในระยะวิกฤต ใช้กลยุทธ์จำศีล คือ การลดพนักงานและปิดการให้บริการชั่วคราว การส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นกระแสเงินสด รวมทั้งการให้บริการสั่งอาหารออนไลน์สำหรับโรงแรมที่มีร้านอาหาร การผ่อนปรนด้านสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการอยู่รอดในระยะนี้ ควรมีการพัฒนาบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่และการวางแผนปรับปรุงธุรกิจ
3) ในระยะฟื้นฟู มีการปรับโครงสร้างองค์กร การริเริ่มระบบการให้บริการอัตโนมัติในบางโรงแรม เพื่อลดการติดต่อทางกายภาพ การควบคุมคุณภาพการให้บริการและสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยแก่ลูกค้า โรงแรมมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ใช้นโยบายที่ยืดหยุ่นด้านการจองห้องพักและกลยุทธ์ใหม่ที่นำมาขึ้นอยู่กับลักษณะของโรงแรมและสถานที่ตั้งของโรงแรม
4) ระยะแก้ไข มีแนวปฏิบัติที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม โดยให้ความใส่ใจด้านสุขอนามัย ข้อเสนอด้านการตลาดที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแต่ละกลุ่ม ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายกับลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเกิดความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ จัดทำแผนฉุกเฉินเพื่อเตรียมรับกับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นอีก ใช้กลยุทธ์เชิงรุกในด้านการแสวงหาการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการวางแผนระยะยาวมากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2563, 1 สิงหาคม). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. Tourism Economic Review. https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf
บริษัทบัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน ). (n.d., 20 กรกฎาคม). รายชื่อ HOSPITEL รองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19. https://www.ktc.co.th/ktcworld/travel-service/travel-story/thailand/hospitel
รัฐบาลไทย (n.d., 15 ตุลาคม). ครม. เห็นชอบ มท. ขยายระยะเวลาการเปิดรับนักท่องเที่ยวประเภทพิเศษ Special Tourist Visa (STV) ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565. Https://www.Thaigov.go.th/. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/46790
BBC. (2020, 28 ตุลาคม). โควิด-19 : ฮอสปิเทล แปลงโรงแรมเป็นโรงพยาบาล ทางรอดจากวิกฤตคนไข้ล้น. BBC News Thai. https://www.bbc.com/thai/thailand-52211098.
Charoennan, W., & Embalzado, H. (2021). The Impacts of COVID-19 Pandemic and Strategic Responses: Insights from Business Owners in Thailand. Chulalongkorn Business Review, 43(2), 47-71.
Engidaw, A. E. (2022). Small businesses and their challenges during COVID-19 pandemic in developing countries: in the case of Ethiopia. Journal of Innovation and Entrepreneurship, 11(1), 1-10.
Le, D., & Phi, G. (2021). Strategic responses of the hotel sector to COVID-19: Toward a refined pandemic crisis management framework. International Journal of Hospitality Management, 9(4), 10-28.
Ritchie, B. W., & Jiang, Y. (2019). A review of research on tourism risk, crisis and disaster management: Launching the annals of tourism research curated collection on tourism risk, crisis and disaster management. Annals of Tourism Research, 7(9),10-28.