การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการ อัตราส่วนสภาพคล่องส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร โครงสร้างเงินทุนและมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคและเทคโนโลยี

Main Article Content

เสาวลักษณ์ อ่ำคูณ
พรทิวา แสงเขียว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการ อัตราส่วนสภาพคล่องส่งผลต่อความสามารถในการทำไร โครงสร้างเงินทุนและมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคและเทคโนโลยี 2. เพื่อศึกษาการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการ อัตราส่วนสภาพคล่องส่งผลต่อความสามารถในการทำไร โครงสร้างเงินทุนและมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคและเทคโนโลยี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ตั้งแต่ปี 2563-2565 จำนวน 69 บริษัท รวมทั้งหมด 207 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า


1) การกำกับดูแลกิจการที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลความสามารถในการทำกำไรทางบัญชี ที่วัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตรากำไรขั้นต้น อัตราส่วนกำไรสุทธิ ได้แก่ สัดส่วนของกรรมการอิสระ (IND) สัดส่วนการถือหุ้นของกรรมการบริษัทกรรมการ (SH)และ ขนาดของคณะกรรมการบริษัท (BOD) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  3 อันดับแรก (TOP3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการกำกับดูแลกิจการที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานทางตลาด ที่วัดค่าจาก ได้แก่ ขนาดของคณะกรรมการบริษัท (BOD ) และสัดส่วนของกรรมการอิสระ (INP) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รวมถึงกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


2) อัตราส่วนสภาพคล่องมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสามารถในการทำกำไร ที่วัดค่าจากอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตรากำไรขั้นต้น (GP) อัตราส่วนกำไรสุทธิ (NP) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการบริหารสภาพคล่องที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลโครงสร้างเงินทุน ที่วัดค่าจากอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวม (DR) และอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม (DE)         

Article Details

How to Cite
อ่ำคูณ เ., & แสงเขียว พ. (2023). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการ อัตราส่วนสภาพคล่องส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร โครงสร้างเงินทุนและมูลค่ากิจการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภคและเทคโนโลยี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(4), 224–235. https://doi.org/10.14456/issc.2023.75
บท
บทความวิจัย

References

จิราภรณ์ ชูพูล. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ชนานาถ กุลมณี. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นพดล ปกรณ์นิมิตดี. (2563). การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัดในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์ ]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

นัทวตรา ปัณชนาธรณ์. (2563). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อผลการดำเนินงานธุรกิจหมวดอุตสาหกรรมกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม

พรนภา บุญรอด. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแลกับประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มทรัพยากร และสินค้าอุตสาหกรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สุพิพัฒน์ ราชแพทยาคม, ศิริลักษณ์ บางโชคดี. (2563). ปัจจัยลักษณะของบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธรุกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2),11-29.

ศรัญญา สิงห์วะราช. (2562). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินด้านประสิทธิภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100.

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Andrades, J., Martinez-Martinez, D., Larrán, M., & Herrera, J. (2019). Determinants of information disclosure by Spanish state-owned enterprises in accordance with legal requirements. International Journal of Public Sector Management, 32(6), 616-634.

Azeez, A. A. (2015). Corporate governance and firm performance: evidence from Sri Lanka. Journal of Finance and Bank Management, 3(1), 180-189.

Coleman, M., Wu, M., & Baidoo, M. (2020). Corporate governance and working capital policy: an unobserved influence. Emerging Economy Studies, 6(1), 106-122.

Yilmaz, I. (2018). Corporate governance and financial performance relationship: Case for Oman companies.

Coleman, M., & Wu, M. (2021). Corporate governance mechanisms and corporate performance of firms in Nigeria and Ghana. International Journal of Productivity and Performance Management, 70(8), 2319-2351.

Sudiantini, D. (2020, September). Empirical Testing of Climate Work as Moderating at Regional Public Service. In International Conference on Management, Accounting, and Economy (ICMAE 2020) (pp. 47-49). Atlantis Press

Zabri, S. M., Ahmad, K., & Wah, K. K. (2016). Corporate governance practices and firm performance: Evidence from top 100 public listed companies in Malaysia. Procedia Economics and Finance, 3(5), 287-296.