ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะการทำบัญชีที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเกษตรกร เก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม จากนั้นนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิตเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อคุณลักษณะการจัดทำบัญชี การจัดทำบัญชีด้านเศรษฐกิจ และการทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของเกษตรกรในพื้นที่ภาคกลาง พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ผลการศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะการทำบัญชีที่ส่งผลต่อการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของเกษตรกร พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะการทำบัญชี ส่งผลเชิงบวกต่อจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของเกษตรกร ด้านการรับรู้ถึงรายรับรายจ่ายที่แท้จริง ด้านการออมเงิน ด้านความสามารถในการชำระหนี้ และด้านการควบคุมค่าใช้จ่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) ผลการศึกษาปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของเกษตรกร พบว่า ปัจจัยด้านสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลเชิงบวกต่อจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2553, 8 มิถุนายน). ภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2553. https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/cadweb_org/coopEconomically/coop2553
กิตติชัย นวลทอง. (2557, 8 มิถุนายน). คู่มือความรู้ทางการเงินฉบับสมบูรณ์. http://www.pandinthong.com/knowledgebase-preview/372891791792.
เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์ และ วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2552). หลักการบัญชี 1 (พิมพ์ครั้งที่ 12). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาพร ลิขิตวงศ์ขจร. (2550). บัญชีครัวเรือน: เครื่องมือสู่เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(15), 25 – 29.
นัฐกานต์ ทิพยโสตถิ. (2559). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติ ของประชาชนในการทําบัญชีครัวเรือนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการ, 1(1), 941-952.
ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนสู่การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีภายใต้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ประเวศ วะสี. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. หมอชาวบ้าน.
ปิยะ นากสงค์. (2565). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. ไรไวว่า.
ผกามาศ มูลวันดี. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่มีต่อคุณภาพชีวิตในครอบครัวของเกษตรกรบ้านหนองตาไก้ ตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 11(2), 26-40.
พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทาบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1926-1942.
พิมพ์รัก พุ่มเจริญ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของเกษตรกรและแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายที่เหมาะสม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรสวร, 7(1), 20-28.
วินิตยา สมบูรณ์. (2554). การรับสารสนเทศด้านการบัญชีครัวเรือนผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ของสมาชิกสหกรณ์ การเกษตรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปรมิณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2550). ข้าแผ่นดินสอนลูก. มติชน.