แนวทางพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ปิยะมาศ สื่อสวัสดิ์วณิชย์
ณัฐพงศ์ แต้มแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการโลจิสติกส์ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและความพึงพอใจต่อการจัดการ           โลจิสติกส์การท่องเที่ยวตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของร้านค้าหรือคนในชุมชนตลาดบ้านใหม่ จำนวน 5 คน ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึก ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ จะใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า


1) ภาพรวมของแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี อยู่ในระดับมากทั้งหมด พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.96 แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 การจัดการโลจิสติกส์ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.79


2) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ขายแก่นักท่องเที่ยวเพียงพอต่อความต้องการ ร้านค้ามีบริการชำระเงินหลากหลาย รูปแบบการจัดการสถานที่จอดรถเพียงพอ มีห้องน้ำที่สะอาดเพียงพอต่อความต้องการ มีสิ่งสนับสนุนช่วยอำนวยความสะดวก และผู้ประกอบการในพื้นที่ท่องเที่ยว มีการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสื่อประชาสัมพันธ์

Article Details

How to Cite
สื่อสวัสดิ์วณิชย์ ป., & แต้มแก้ว ณ. . (2023). แนวทางพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 6(4), 38–52. https://doi.org/10.14456/issc.2023.61
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG

พ.ศ. 2564-2565.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 3 มีนาคม). ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี.https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/1679

คมสัน สุริยะ. (2552, 3 มีนาคม). กรอบแนวคิดโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว. www.tourismlogistic.com

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดการนำเที่ยว. บริษัท วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2555). การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธนายุส บุญทอง และ ณรงค์ฤทธิ์ อดุลย์ฐานานุศักดิ์. (2564). Sustainable Tourism: กระแสแห่งโอกาสและความท้าทายของภาคการท่องเที่ยวไทย. Regional Letter, 16(1).10-15.

นภดล ร่มโพธิ์. (2554). การวัดผลการปฏิบัติงานองค์กร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยาพัชร วัฒนแสงประเสริฐ. (2563). แนวทางการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเมืองรอง กรณีศึกษา : จังหวัดนครนายก.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สวิตต์ จันทร์ธาดารัตน์ และ ซูลกิฟลี มาหะมะ. (2562). การบริหารจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว กรณีศึกษา หมู่บ้านคีรีวง.

[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อรรนพ เรืองกัลป์ปวงศ์ และ สราวรรณ์ เรืองกัลป์ปวงศ์. (2563). แนวทางการเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและการพัฒนาการ

จัดการโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1). 31-52.

Bravo & Carvalho. (2013). Understanding Pharmaceutical Sustainable Supply Chains-A Case Study Application.

Independent Journal of Management & Production, 4(1). 33-45.

Bowersox, D. J., Closs, D. J., & Cooper, M. B. (2002). Supply chain logistics management. McGraw-Hill

Chengxue. (2013). Green Logistics Management for Eco-Industrial Chains of China: An Empirical Study.

International Journal of Engineering and Industries, 4(2). 23- 35.

Cengiz, E. (2010). MEASURING CUSTOMER SATISFACTION: MUST OR NOT?. Journal of Naval Science and Engineerin, 6(2), 76-88.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.

Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2 nd ed.) London: Sage

Flint, D.J., Lusch, R.F. & Vargo, S.L. (2014) The Supply Chain Management of Shopper Marketing as Viewed

through a Service Ecosystem Lens. International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 44(3), 23-38.

Hammervoll, T. (2009). Value-creation logic in supply chain relationships. Journal of Business to Business Marketing, 16(3), 220.

Langley, J., C. (2012). Managing Supply Chain: A Logistics Approach. Thomson SouthWestern.

Lumsdon, L., & Page, S. (2004) Tourism and Transport: Issues and Agenda for the New Millennium. Elsevier.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). McGraw-Hill.

Stock., J. R., & Lambert, D. M. (2001). Strategic Logistics Management (4th ed.). Mcgraw-Hill.